เปลือกนอกของสาย Fiber optic มีกี่ชนิด?
มารู้จักประเภทของเปลือกนอก (Outer Sheath) ของสายเคเบิล Fiber optic cable ว่ามีอะไรบ้าง?
ประเภท Outer Sheath Materials ของสายไฟเบอร์ออฟติก(Fiber optic cable)มีอะไรบ้าง เหมาะกับการนำไปใช้งานแบบไหน และมีประโยชน์อย่างไร ในการเลือกซื้อหรือเลือกใช้งานสำหรับงานโครงการต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หรือซื้อไปใชงานเอง ซึ่งเปลือกนอกของสายเคเบิลมีความสำคัญอย่างยิ่ง ในการป้องกันไม่ให้แท่งแก้วด้านในเกิดความเสียหายได้ง่าย ซึ่งบางครั้งเกิดจากสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น แสงแดด ฝน ลม ความร้อน สารเคเมี แรงดึง แรงกระแทก เป็นต้น ทำให้สายที่คุณเลือกซื้อไปนั้นสามารถใช้งานไม่ยาวนานเท่าที่ควร โดยที่ผู้ผลิตออกแบบมาตามมาตรฐานสากลทั่วไปต้องอย่างน้อย 20 ปี ขึ้นไป
ชนิดของวัสดุที่นำมาผลิตเป็นเปลือกนอกของสายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic cable) นั้นมีกี่ประเภทและมีความแตกต่างการใช้งานกันอย่างไร ในบทความนี้จะได้กล่าวถึงเฉพาะชนิดที่เป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลายและเป็นมาตรฐานสากลทั่วไปเป็นหลัก
ชนิด PVC (Polyvinyl Chloride)
เป็นวัสดุที่นิยมนำมาผลิตเป็นเปลือกนอกของสายเคเบิลทั่วไป ตลอดจนสายไฟเบอร์ออฟติก(Fiber optic cable) เพราะเป็นวัสดุที่มีคุณภาพดี ป้องกันแรงเสียดทาน แรงดึง สารเคมีได้ดี และราคาถูก แต่ข้อเสียจะมีควันพิษ เมื่อเกิดการเผาไหม หรือติดไฟ และที่สำคัญวัสดุ PVC จะสามารถผลิตสีได้ง่ายและหลากหลายเช่นกัน วัสดุประเภทนี้จึงเป็นที่นิยมนำไปติดตั้งแบบภายในอาคาร หรืออาคารสูงได้ดีเพราะไม่มี เจล(Gel)(Note: เจลคือสารกันความร้อน สำหรับสายภายนอก) ด้านใน ซึ่งถ้ามีเจลใสๆ อยู่ด้านในเหมือนกับตัวสายภายนอกอาคาร ในท่อ (Loose Tube) จะทำให้เจลด้านในไหลลงมาจากที่สูงลงมาด้านล่าง ทำให้กล่องพักสาย หรือ ODF ตามตู้สื่อสารมีปัญหาได้ ในอาคารสูง
ชนิด PE (Polyethylene)
ส่วนใหญ่จะเป็นสีดำและจะมีความมันเงาในตัวเหมือนเคลือบแว็ค ซึ่งจะไม่มีกลิ่น โดยคุณสมบัติเด่นจะสามารถต้านทานต่ออุณหภูมิต่ำได้ดีเยี่ยม -100 องศา ถึง -70 องศาเซลเซียส จึงเป็นที่นิยมในการนำไปติดตั้งในแถบภูมิภาคเขตหนาว และทนต่อการเป็นกรด ด่าง หรือสารเคเมีต่างๆได้ดีจนถึงการเป็นวัสดุฉนวนไฟฟ้าได้ดีเยี่ยมอีกด้วย จึงนิยมนำมาติดตั้งในสภาพแวดล้อมแบบภายนอกอาคารโดยเฉพาะ ทนร้อน ทนสารเคมี และสภาพอากาศแบบหนักได้ดี แต่ก็จะมีวัสดุอีก 2 ประเภทที่นิยมนำมาผลิตเปลือกนอกที่คุณภาพสูงเกรดดี เช่น MDPE(Middle density) และ HDPE(High density) ซึ่งทั้งสองประเภทหลังก็จะเป็นวัสดุเกรดดีขึ้นและมีราคาที่สูงขึ้นตาม แต่ก็มีคุณภาพที่สูงตามไปด้วยเช่นกัน
ชนิด LSZH (Low smoke zero halogen)
เป็นวัสดุที่มีส่วนประกอบที่เติมสารหน่วงไฟ(Frame-retardant) หรือไม่ลามไฟและไม่เกิดควันพิษ ขณะเกิดไฟไหม้สายเคเบิล โดยวัสดุชนิดนี้จะมีคุณสมบัติพิเศษที่สามารถเจือจางการติดไฟและสามารถดูดซับความร้อนที่เกิดจากความเผาไหม้ได้ดี ขณะเดียวกันยังสามารถสร้างกำแพงกันออกซิเจนที่ไม่ติดไฟได้ ซึ่งตัวสายเคเบิลชนิดที่ผลิตจากวัสดุชนิด LSZH ผิวของตัวสายจะออกผิวด้านจะไม่มันเงาเหมือนกับวัสดุชนิด PE และวัสดุประเภท LSZH นี้ยังสามารถทนต่อแรงดึง ทนน้ำมัน การบิดงอได้ดี และอ่อนนิ่มกว่า วัสดุที่เป็น PE ดังนั้นวัสดุชนิดนี้จึงนิยมที่จะนำไปติดตั้งในสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารและภายในอาคารได้ดี (Indoor/Outdoor) และในสภาพแวดล้อมที่มีสายเคเบิลจำนวนมาก เช่นในอาคารสูงเป็นต้น เพื่อป้องกันการลามไฟและไม่เกิดควันพิษ ขณะเกิดเพลิงไหม้ในอาคารสูง ณ จุดรวมสายสัญญาณเป็นต้น
ประโยชน์ของเปลือกนอกสายเคเบิล Fiber optic cable
-
ป้องกันตัวแท่งแก้วด้านในไม่ให้เกิดความเสียหาย ขณะติดตั้งและใช้งานแบบปกติ
-
ป้องกันไม่ให้แสงโดยรอบหรือแสงเล็ดลอดออกไปทำให้เกิดสัญญาณรบกวนในการส่งสัญญาณ
ดังนั้น การเลือกใช้งานสายเคเบิลไฟเบอร์ออฟติก(Fiber optic cable) ที่ถูกต้อง ถูกวิธี หรือถูกประเภทก่อนการติดตั้งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ในการใช้งาน เพราะจะทำให้สามารถยืดอายุการใช้งานให้สายเคเบิลของคุณ ได้เป็นอย่างดี แถมได้ประสิทธิภาพเต็มสมบูรณ์ในการส่งสัญญาณอีกด้วย เพราะไม่ทำให้เกิดสัญญาณรบกวนต่างๆ
ยินดีให้คำปรึกษาและออกแบบระบบ ฟรี พร้อมแนะนำการเขียน TOR. ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ สำหรับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
Link สินค้าสำหรับสายเคเบิล Fiber optic cable >>>
- Aerial Fiber optic cable สำหรับแขวนอากาศ
- Duct & Direct Buried Fiber optic cable สำหรับร้อยท่อและฝังดินโดยตรง
- Indoor fiber optic cable สำหรับติดตั้งภายในอาคาร
By: BISMON
Tel:0-2563-5000
e-mail: sale@bismon
Line Office: @bismon
Line@bismon
Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ
๐ มาตรฐาน UL สำหรับสายแลน (LAN: Local Area Network) หรือ Ethernet cable คืออะไร?
๐ Fiber optic cable for duct and direct buried type
๐ ทำไมต้องใช้ Optical Loss Test สำหรับเช็คสาย Fiber optic cable