Managed vs Unmanaged Switches แตกต่างกันอย่างไร?

Managed vs Unmanaged Switches แตกต่างกันอย่างไร?

Managed vs Unmanaged Switches แตกต่างกันอย่างไร?

คำถามยอดนิยมตลอดกาล สำหรับผู้เริ่มต้นจัดการระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เน็ทเวิร์ค หรือฝ่ายจัดซื้อสำหรับองค์กร ต่างๆ ที่ต้องการหาสินค้าเพื่อจำหน่ายต่อ หรือใช้งานเองภายในองค์กร ของคุณเอง คือการเปรียบเทียบ ตัวกระจายสัญญาณระบบเครือข่ายเน็ทเวิร์ค หรือ ภาษาอังกฤษเรียกว่า Ethernet Network Switches ที่มีจำนวนช่องสัญญาณตั้งแต่ 4, 6, 8, 16, 24, 48 และ 52 ช่อง (Port) โดยมีข้อเปรียบเทียบก่อนการเลือกซื้อ หรือเลือกใช้งาน  ที่ต้องคำนึงถึง ดังนี้

 

Ethernet network Switches แบบ Managed และ Unmanaged มีความแตกต่างกันอย่างไร

ในบทความนี้จะเปรียบเทียบแบบง่ายๆให้เห็นภาพชัดๆว่ามีความแตกต่างกันตรงจุดไหนบ้างและทั้งสองแบบจะเหมาะกับการใช้งานประเภทไหน หรือกลุ่มผู้ใช้งานระดับใดบ้าง หรือองค์กรขนาดไหนบ้าง

1. Unmanaged switches

Unmanaged switches คืออุปกรณ์กระจายสัญญาณระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เน็ทเวิร์ค แบบที่ไม่สามารถจัดการหรือตั้งค่าใดๆได้ เพียงซื้อมาและติดตั้งเสียบปลั๊กไฟและเสียบสายแลน ก็พร้อมใช้งาน ที่เรียกว่า Plug-and-Play ซึ่งส่วนใหญ่อุปกรณ์ประเภท Unmanaged network switch จะเหมาะกับผู้ใช้งานตามบ้าน สำนักงานขนาดเล็ก หรือผู้ที่ต้องการซื้อไปติดตั้งเองแล้วไม่มีความรู้ในการตั้งค่าต่างๆ ก็สามารถใช้งานได้เลยแบบไม่ยุ่งยาก เช่นการแชร์ข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกันและแชร์เครื่องพิมพ์ขนาดเล็กและอุปกรณ์อื่นๆที่ต้องการใช้งานผ่านเครือข่ายเน็ทเวอร์ค นั้นๆ ที่สำคัญราคาถูกกว่าแบบ Managed

 

2. Managed Switches

Managed Switches คืออุปกรณ์กระจายสัญญาณระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เน็ทเวิร์ค แบบที่สามารถจัดการหรือตั้งค่าการจัดการเปิด-ปิด port RJ45,  ระบบรักษาความปลอดภัย การแบ่งกลุ่มและสิทธิ์การใช้งานต่างๆ เป็นต้น และรวมถึงราคาที่แพงกว่ารุ่นที่เป็น Unmanaged Switch จึงเหมาะกับบ้านขนาดใหญ่หรือองค์กรขนาดใหญ่ที่มีอุปกรณ์ไอทีหรือระบบเครือข่ายเน็คเวิร์คคอมพิวเตอร์ที่ต้องการเชื่อมต่อกันจำนวนมาก เพื่อง่ายต่อการจัดการและดูแลรักษาข้อมูล ที่มีความสำคัญต่อองค์ของคุณอย่างยิ่ง ในการจัดการระบบ

 

ตัวอย่างฟังก์ชั่นการทำงานต่างๆ ใน Network Switch แบบ Managed

 

Managed vs Unmanaged Switch: ข้อเปรียบเทียบ

 Performance(ประสิทธิภาพ):

  • Unmanaged Switch เมื่อคุณเปิดสวิทซ์และเสียบสายแลน เพื่อเริ่มการทำงาน ระบบสามารถส่งผ่านข้อมูลได้เลยแบบอัตโนมัติ โดยไม่ต้องตั้งค่าแต่อย่างใดกับตัว Network switch ชนิดนี้
  • Managed Switch เมื่อคุณเปิดสวิทซ์และเสียบสายแลน เพื่อเริ่มการทำงาน คุณจะต้องให้ผู้เชี่ยวชาญ หรือวิศวกร ที่มีความชำนาญ ในการกำหนดหรือตั้งค่าต่างๆ ให้พร้อมใช้งานกับระบบที่คุณต้องการ หรือต้องการเชื่อมกับระบบเก่าที่มีอยู่แล้ว เพื่อให้ตัว Network Switch สามารถใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

 

Security(ความปลอดภัย):

  • Unmanaged Switch ในด้านความปลอดภัยจะของข้อมูลหรือของ RJ45 port  คุณจะต้องหาอุปกรณ์เสริมแบบจับต้องได้มาล็อคช่อง RJ45 กันไม่ให้ใครมาถอดหรือดึงสายออก หรือกำหนดแถบสีเพื่อแยกหน่วยงานหรือกลุ่มผู้ใช้งานเป็นต้น
  • Managed Switch ในด้านความปลอดภัย คุณสามารถกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูล พร้อมกำหนดการแบ่งกลุ่มผู้ใช้งานแยกจากกันได้อย่างสมบูรณ์ พร้อมระบบป้องการและแจ้งเตือนเมื่อมีการโจมตีระบบ หรือมีการแจ้งเตือนหากสายแลนหลุดออกจากตัว network switch เป็นต้น

 

Cost(ราคา):

  • Unmanaged Switch แบบที่ไม่สามารถกำหนดการตั้งค่าได้นั้นจะมีราคาที่ถูกกว่าเมื่อเทียบกับรุ่นที่สามารถจัดการได้แบบ Managed Switch อาทิเช่น 8, 16 port แบบ Unmanaged Switch จะอยู่ที่ราคาประมาณ 4-6,000 บาท ขึ้นอยู่กับยี่ห้อ แต่ถ้าเป็น Managed ราคาจะอยู่ที่ 9-12,000 บาทเลยทีเดียว

  • Managed Switch แบบที่สามารถกำหนดค่าและตั้งค่าได้ ราคาจะสูงกว่า รุ่น Unmanaged switch อยู่ประมาณ 20-30% เนื่องด้วยมีฟังก์ชั่นการใช้งานได้หลากหลายมากกว่า รองรับระบบเน็ทเวิร์คขนาดใหญ่ได้

 

Application(การประยุกต์ใช้งาน):

  • Unmanaged Switch จะเหมาะกับการใช้งานระบบเครือข่ายเน็ทเวิร์คขนาดเล็กแบบทั่วไปตามบ้าน หรือสำนักงานขนาดเล็กที่ไม่เน้นการจัดการและติดตั้งใช้งานง่ายแบบ Plug and Play พร้อมใช้

  • Managed Switch จะเหมาะกับการใช้งานระบบเครือข่ายเน็ทเวิร์คที่มีขนาดใหญ่ และต้องการการจัดการฟังก์ชั่นแบบครบ เพื่อให้สามารถเข้ากับระบบต่างๆได้ดี พร้อมการใช้งานได้อย่างมืออาชีพและประสิทธิภาพสูงสุดของระบบไอทีเน็ทเวิร์ค ในแต่ละองค์กร

 

ดังนั้นการเลือกซื้อ Network Switch ขนาดต่างๆ เข้ามาใช้งานในบ้าน สำนักงาน หรือในองค์กรของคุณ จึงจำเป็นจะต้องเช็คว่าระบบเน็ทเวิร์คของคุณมีความต้องการแบบไหนที่จะเลือก network switch แบบ Managed หรือ Unmanaged มาใช้งานจริง เพราะสามารถประหยัดงบประมาณค่าใช้จ่ายได้มาก ถ้าเลือกแบบ Unmanaged หรือถ้าต้องการ แบบ Managed ที่มีราคาแพง แต่สามารถขับเคลื่อนธุรกิจหรือองค์กรของคุณให้ดีขึ้นและทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน หรือสามารถรองรับกับระบบในอนาคตอย่างน้อย 3-5 ปี ได้

 

 

By: BISMON

Tel:0-2563-5000

e-mail: sale@bismon

Line Office: @bismon

 

Line@bismon

เพิ่มเพื่อน

 




Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ

๐ สายไฟเบอร์ออฟติก ADSS แตกต่างกับ ARSS อย่างไร

๐ เปลือกนอกของสาย Fiber optic มีกี่ชนิด?

๐ ความสำคัญของ Surge Protector สำหรับงานกล้อง CCTV

๐ Fiber Optic กับระบบ IP Phone : การเชื่อมต่อที่ทรงพลังในยุคดิจิทัล

๐ New Catalog & Price list Ethernet Network Switches 2021