เครื่องวัด OTDR(Optical Time Domain Reflectometer)Singe-mode & Multi-mode

เครื่องวัด OTDR(Optical Time Domain Reflectometer)Singe-mode & Multi-mode

OTDR (Optical Time Domain Reflectometer) คือเครื่องวัดสายไฟเบอร์ออพติก(Fiber optic cable) หรือสายใยแก้วนำแสง ที่สามารถวัดสายได้ทั้ง 2 ชนิด คือ

Single-mode กับ Multi-mode

แล้วทำไม ต้องใช้งานได้ทั้งสองแบบ ในเครื่องเดียวกันล่ะ มีความจำเป็นไหม แล้วเครื่องนี้เหมาะกับผู้ใช้งานกลุ่มไหน

ปัจจุบันสายไฟเบอร์ออพติก(Fiber optic cable) ได้รับความนิยมอย่างสูง เพราะราคาถูกลงมามาก และ สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย Applications ตลอดจนระบบเทคโนโลยีก็พัฒนากันอย่างต่อเนื่อง ทั้งความเร็ว และ ความสะดวกสบาย ในการใช้งาน

ดังนั้น สายไฟเบอร์ออพติก(Fiber optic cable) จึงเป็นตัวเลือกต้นๆ ในการนำมาใช้งานในระบต่างๆ ทั้งชนิด Single-mode และ Multi-mode เพื่อรองรับการใช้งานที่มาก และหลากหลาย

แล้วมีระบบอะไรบ้าง ที่ใช้งานสายไฟเบอร์ออพติก ทั้งสองชนิดนี้ Single-mode & Single-mode

1.ระบบกล้องวงจรปิด (CCTV) ทั้งแบบ Analog และ แบบ IP camera เพราะทั้งสอง Applications นี้ สามารถใช้สาย  Fiber optic cable ได้ทั้ง ชนิด Multi-mode และ Single-mode

สายชนิด Multi-mode จะใช้ในงานแบบระยะทางสั้นๆ ไม่เกิน 500 เมตร ในระบบกล้อง Analog และ            ถ้าเป็นระบบ IP Camera จะสามารถเลือกใช้สายชนิด Single-mode ได้ เพราะไม่จำกัดระยะทาง                สูงสุด 120 กิโลเมตร เพราะกล้อง IP camera ทำงานบนระบบ Ethernet LAN network เช่นเดียวกับ           ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2.  ระบบ Ethernet LAN network ระบบนี้มีความหลากหลายในการใช้งานมาก เพราะว่าผู้ใช้งาน จะมีระบบเดิมๆอยู่แล้ว บางสำนักงาน หรือบางโรงงาน มีระบบที่ใช้สาย ไฟเบอร์ออพติก ชนิด Multi-mode มานานกว่า 20 ปี เพราะว่า ในสมัยก่อน สายชนิด Multi-mode จะมีราคาสูงแต่อุปกรณ์แปลงสัญญาณแพง เช่น Switch หรือ Media converter จะมีราคาถูกกว่า ชนิด Single-mode มาก ผู้ใช้งานจึงนิยมเลือกใช้สาย ชนิด Multi-mode แทนเพราะโดยรวมราคาถูกกว่า

Ethernet Lan network จึงมีการใช้งานสายชนิด Multi-mode เป็นจำนวนมาก แต่ก็จะเป็นสายชนิดเก่า และจำกัดเรื่องความเร็วในการใช้งาน เช่น 10/100Mbps  เป็นต้น แต่ในปัจุบันเปลี่ยนไปใช้งานระบบสาย Multi-mode ที่มีความเร็วสูง เช่น OM3, OM4 และ OM5 ที่ความเร็วสูงสุด 100GB

3.  ระบบ ดาต้าเซ็นต์เตอร์ (Data center) ระบบนี้เริ่มมีความนิยมสูงมากในปัจจุบัน เพราะผู้ใช้งานคำนึงถึงข้อมูลมาก เรื่องความปลอดภัยในระบบข้อมูล ของแต่ละองค์กร จึงหันมาใส่ใจ ใช้งานระบบเก็บข้อมูลประจำสำนักงาน หรือ องค์กรขนาดใหญ่กันมากขึ้น เช่น ระบบธนาคาร ระบบโรงงานใหญ่ๆ และ ระบบของหน่วยงานราชการ ที่ยังไม่มั่นใจ กับระบบ คราวด์(Cloud Storage) ที่ให้บริการในปัจจุบัน แต่ในไม่ช้าระบบ Cloud storage ก็จะเข้ามาแทนที่ระบบเดิมๆมากขึ้น เช่นกัน

ระบบ Data center ใช้งานสายชนิด Multi-mode แบบ 50/125um (OM2, OM3, OM4 และ OM5 ) OM คืออะไร คือการแบ่งกลุ่ม ความเร็วในการใช้งาน ตั้งแต่ 1GB จนถึง 100GB  (จะยังไม่ขอกล่าวถึงรายละเอียดของสาย ชนิด  Multi-mode OMต่างๆ)

ทั้ง 3 ระบบ ที่ยกตัวอย่างมานั้น คือ สามารถใช้เครื่องมือวัด OTDR ที่รองรับการใช้งาน ได้ทั้งแบบ ชนิด  Single-mode และ Multi-mode ในเครื่องเดียวกัน?

ดังนั้น การเลือกเครื่องมือวัด ให้เหมาะกับงาน จึงมีความสำคัญอย่างมาก เพราะว่าโรงงานผู้ผลิต จะมีการผลิตและคิดค้นออกมาเป็นจำนวนมาก ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานไม่เหมือนกัน และ หลายระดับการใช้งานและแตกต่างกันที่ ราคา ด้วยเช่นกัน

แล้ว เครื่องวัด  OTDR สามารถใช้งานอะไร และแก้ปัญหาอะไรให้กับผู้ใช้งานได้บ้าง

-สามารถค้นหาและตรวจสอบ จุดเสียของสายเคเบิ้ล ไฟเบอร์ออพติกได้

-สามารถ ตรวจสอบระยะ สายที่ขาด หรือมีปัญหาได้ โดยแสดงผลที่หน้าจอ

-สามารถตรวจสอบ ค่า  Loss ทั้งจาก Connector และ  จุดเชื่อมต่อ(Splice) ได้

-สามารถทดสอบสาย Fiber optic cable ได้ไกลถึง 80 กิโลเมตร

-สามารถ ทำรายงานผลการทดสอบและตรวจสอบ ความมีเสถียรภาพของระบบประจำเดือนได้

-รองรับการทดสอบสายได้ทั้งชนิด Multi-mode  และ Single-mode

-สามารถวัดค่า Loss ด้วย Power meter ในตัว

-สามารถ ยิงแสงเลเซอร์ สีแดง VFL เพื่อหา ตำแหน่ง หรือคู่สายได้

-เพิ่มความคล่องตัวมากขึ้น เมื่อมีเครื่องมือเป็นของตัวเอง ในการพร้อมให้บริการ

นั่นคือประโยชน์ ของเครื่องวัด OTDR ที่มีไว้ใช้งาน คู่กายช่างและสามารถควบคุมเสถียรภาพของระบบเทคโนโลยี ของคุณ และขององค์กร ชั้นนำได้ และหรือลูกค้าคุณ......

 

BY: BISMON




Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ

๐ 12U Outdoor Stainless Steel Rack 19-inch

๐ Serial Device Server Media Converter

๐ การติดตั้ง Closure Fiber และ Loop สายไฟเบอร์ออฟติก บนเสาไฟฟ้า

๐ เครื่องสำรองไฟ (UPS) ยี่ห้อ APC, Delta, Zircon

๐ Managed vs Unmanaged Switches แตกต่างกันอย่างไร?