ทำไม! สายไฟเบอร์ออฟติก จะต้องมีมาตรฐาน มอก.? (มาตรฐานอุตสาหกรรม)

ทำไม! สายไฟเบอร์ออฟติก จะต้องมีมาตรฐาน มอก.? (มาตรฐานอุตสาหกรรม)

ทำไม! สายไฟเบอร์ออฟติก จะต้องมีมาตรฐาน “มอก.” (มาตรฐานอุตสาหกรรม) กำกับดูแล

สายไฟเบอร์ออฟติก(Fiber optic cable) ในปัจจุบัน มีมากมายหลากหลายรูปแบบ ในการเลือกใช้งานให้เหมาะกับระบบนั้นๆ เช่น ระบบ Power plant ไซด์งานก่อสร้างโรงงานใหญ่ๆ หรือโรงไฟฟ้า ก็จะใช้แบบ ชนิดพิเศษ เช่นDirect buried หรือ SWA cable หรือระบบใช้งานทั่วไป เช่น ระบบ อินเตอร์เน็ต หรือระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ก็จะใช้งานแบบทั่วไป เช่น Indoor/Outdoor แล้วแต่ลักษณะของการติดตั้ง ณ สถานที่นั้นๆ

ดังนั้น ไม่ว่าจะเลือกซื้อสายเคเบิล ไฟเบอร์ออฟติกแบบใด ก็จำเป็นจะต้องมีมาตรฐาน มอก. คอยกำกับทุกตัวของการใช้งานด้วยเสมอ เพราะไม่ว่าบริษํทไหนที่จะนำเข้าสายชนิดนี้มาจำหน่ายในประเทศไทย จะต้องทำเรื่องขออนุญาต ก่อนการนำเข้า นั่นคือกฎหมาย โดยมีรายละเอียดของ มอก. ดังนี้

 

  • มอก.2165-2548 คือ เคเบิลเส้นใยนำแสง เล่ม 3-10 : เคเบิลภายนอกอาคาร-ข้อกำหนดคุณลักษณะเป็นรายกลุ่ม สำหรับเคเบิลเส้นใยนำแสงโทรคมนาคม ติดตั้งในท่อร้อยสายและฝังดินโดยตรง

 

ตัวอย่างสายเคเบิลที่อยู่ในกลุ่มนี้คือ สายประเภท Indoor/Outdoor, Outdoor armoured, Ducts armoured และ Direct Buried cable, SWA(Steel Wire Armoured) cable เป็นต้น คือเคเบิลที่ไม่มีเส้นลวดสำหรับแขวน(ไม่มี Messenger wire)

  • มอก.2166-2548 คือ เคเบิลเส้นใยนำแสง เล่ม 3-20 : เคเบิลภายนอกอาคาร-ข้อกำหนดคุณลักษณะเป็นรายกลุ่ม สำหรับเคเบิลเส้นใยนำแสงโทรคมนาคม แขวนในอากาศรับน้ำหนักตัวเองได้

ตัวอย่างสายเคเบิลในกลุ่มนี้คือ สายประเภท Drop wire cable, Small Fig.8 cable, Fig.8 armoured, Fig.8 Double jacket, ADSS, ARSS( 2 รายการหลังจะไม่มีลวดในการแขวน แต่จะอยู่ในกลุ่ม ของ มอก.2166-2548 เพราะใช้งานสำหรับแขวนโดยเฉพาะ)

และมีอีกหลาย หมวด กลุ่มของสายไฟเบอร์ออฟติกที่ไม่ได้กล่าวถึง เช่นสายประเภท OPGW ที่ส่งกระแสไฟฟ้าและมีสาย ไฟเบอร์ออฟติกอยู่ด้านใน และ อีกกลุ่ม คือสายประเภท เคเบิลใต้น้ำ เป็นต้น

สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง ก่อนการเลือกใช้งาน ต้องดูว่าสายเคเบิลแบบไหน อยู่ในกลุ่มไหน และได้มาตรฐานอุตสาหกรรม หรือไม่ เพราะ ในการนำเสนองานโครงการ ภาครัฐ หรือ รัฐวิสาหกิจ ในปัจจุบัน จะต้องมีมาตรฐาน ไม่น้อยกว่า มอก. เป็นอย่างน้อย แต่สำหรับ งานของรัฐวิสาหกิจ หรือเอกชนบางที่ ก็อาจจะมีการตั้งหน่วยงานเพื่อมากำกับดูแลเฉพาะสายเคเบิลก่อนการเลือกซื้อเข้ามาในระบบองค์กร เช่นกัน เช่น TOT, True, AIS หรือการไฟฟ้า เป็นต้น

 

By: BISMON

Technical@bismon.com




Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ

๐ ตู้ภายนอกอาคาร สำคัญไหม ในการเลือกซื้อ ให้เหมาะกับอุปกรณ์ที่เรามี อย่างคุ้มค่า

๐ Splice tray คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไรในระบบ Fiber optic cable

๐ Cat5/Cat.6 UTP Solution ทั้งระบบมีอะไร บ้างและทำไมต้องใช้

๐ PROMOTION OTDR M710-24 Singlemode/Multimode of AFL brand

๐ POF(Plastic Optical Fiber)คือสายประเภทไหนมีกี่ประเภทและนำไปใช้งานแบบไหน