ตู้ Outdoor แบบตั้งพื้นสำหรับงาน Fiber optic cable มีกี่แบบที่สำคัญ

ตู้ Outdoor แบบตั้งพื้นสำหรับงาน Fiber optic cable มีกี่แบบที่สำคัญ

ตู้ Outdoor แบบตั้งพื้นสำหรับงาน Fiber optic cable มีกี่แบบที่สำคัญ

การติดตั้งและออกแบบการใช้งานระบบข่ายสายไฟเบอร์ออฟติก(Fiber optic cable) ให้ถูกต้องและประหยัดค่าใช้จ่าย พร้อมประโยชน์การใช้งานที่คุ้มค่าที่สุดในการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม ในแต่ละระบบนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ ดังนั้นในบทความนี้จะกล่าวถึงเฉพาะตู้ภายนอกอาคาร(Outdoor cabinet) แบบติดตั้งบนพื้นดิน มีกี่แบบนั้น ที่ได้รับความนิยม โดยมีรายะเอียดดังนี้

1.ตู้แบบติดตั้งอุปกรณ์ Active Equipment  แบบภายนอกอาคาร ที่สามารถติดตั้งกับตู้ที่มี ขนาดความกว้าง 19 นิ้ว หรือ 19” Cabinet Rack ที่มีเสาในการยึดทั้งสองด้าน มีรายละเอียดดังนี้

ตู้  19 นิ้ว Cabinet Rack outdoor จะมีลักษณะเสายึดอุปกรณ์ จำนวน 2 เสา หรือ 4 เสา อยู่ภายในตู้เพื่อที่จะสามารถติดตั้งอุปกรณ์ที่มีขนาดความกว้างที่ 19นิ้วได้ เช่น Ethernet Switch outdoor, PLC, ONU และอุปกรณ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  

โดยตู้จะมีขนาดความสูงให้เลือก ตั้งแต่ 6U, 9U, 12U, 15U, 20U, 27U, 36U และ 42U ซึ่งจะมีขนาดความลึกของตู้เริ่มต้นที่ 40ซม, 50ซม, 60ซม, 80ซม, 100 ซม (หรือตามสั่ง) ซึ่งสามารถเลือกให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ที่จะนำมาติดตั้งภายในตู้ได้ โดยตู้ชนิดนี้ สามารถติดตั้งพัดลม ขนาด 4 นิ้ว จำนวน 4 ตัว เพื่อระบายความร้อนออกภายนอกตู้ได้ เพื่อยืดอายุการใช้งาน ให้กับอุปกรณ์ภายในตู้ได้นานขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงสุด

ส่วนวัสดุในการผลิตตัวตู้นั้น ผู้ออกแบบ สามารถเลือกให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในแต่ละสถานที่ได้ เช่น ถ้าติดตั้งในบริเวณ ริมทะเล โดยต้องเลือกวัสดุที่สามารถทนต่อไอเกลือ ได้ดี เช่น วัสดุ อลูมิเนียม หรือสแตนเลส เกรด 304 หรือ 316 เป็นต้น ส่วนในสภาพแวดล้อมทั่วไปที่ใช้งานภายนอกอาคารนั้น ส่วนใหญ่ผู้ผลิต หรือผู้ออกแบบ จะเลือกใช้วัสดุที่เป็น เหล็ก ชนิด Electro Galvanized steel sheet (EG Steel)ที่ไม่ทำให้เกิดสนิม และทนต่อการใช้งานภายนอกโดยเฉพาะ ก็เพียงพอ

ตู้ประเภทนี้จะมีมาตรฐานการใช้งานภายนอกอาคาร เกรด IP 55 และ IP65 ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและการเลือกวัสดุก่อนการสั่งซื้อ

ภาพด้านบนคือแนวทางการยึดและติดตั้งตู้บนฐานปูนหล่อด้วยซีเมนต์คอนกรีต

ส่วนในการติดตั้งตู้ 19” Outdoor Rack บนพื้นนั้น ทีมช่างหรือผู้ออกแบบ สามารถหล่อฐานปูนซีเมนต์ รูปทรงสี่เหลี่ยมขึ้นมา เพื่อรองรับการติดตั้งตู้ได้ โดยให้สูงจากพื้นดิน โดยประมาณ ไม่น้อยกว่า 30 ซม. หรือแล้วแต่สภาพแวดล้อมในแต่ละโครงการเป็นหลัก ทั้งพื้นถนน หรือบนพื้นดินทั่วไป

2. Optical fiber Cross Connect Cabinet Outdoor แบบไม่มีเสา Rack 19” นิยมติดตั้งตู้ชนิดนี้เพื่อ พักและกระจายสายสัญญาณ

ตู้  Cross connect cabinet  แบบภายนอกอาคาร ชนิดนี้ นิยมเลือกติดตั้งเพื่อพักและกระจายสายไฟเบอร์ออฟติก ในจุดรวมสายต่างๆ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละระบบ ซึ่งตู้ชนิดนี้จะมีการออกแบบภายในไม่เหมือนกัน ซึ่งขึ้นอยู่กับระบบต่างๆ เช่น ระบบ FTTH จะมีการรองรับ PLC-Splitter ในแบบต่างๆกันได้ และรองรับสายได้ ตั้งแต่ 144-576 Core เพื่อพักและกระจายสายได้

 

วัสดุในการผลิตตู้ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีให้เลือก 2 ประเภท คือ

  • ชนิด SMC-glass fiber reinforced polycarbonate structure เป็นวัสดุชนิดที่ไม่ใช่โลหะ จะมีน้ำหนักเบาและแข็งแรง ทนต่อการกัดกร่อนได้ดี อายุการใช้งานนาน

  • ชนิด Stainless Steel (สแตนเลส) จะมีให้เลือกทั้งแบบเกรด 302, 304 และ 316 จะมีความแตกต่างกันทั้ง 3 ชนิด ซึ่งจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันจนถึงราคา ในการผลิต

ดังนั้นผู้ออกแบบจึงควรทราบถึงรายละเอียดของตู้ในแบบต่างๆ ก่อนการเลือกซื้อ หรือก่อนการติดตั้ง หรือการจัดทำงบประมาณประจำปีในแต่ละโครงการ เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด

  

การติดตั้งตู้ประเภทนี้บนพื้นนั้น ก็จะต้องจัดทำหล่อฐานแท่นปูนคอนกรีต ให้สูงจากพื้นดิน ไม่น้อยกว่า 30 เซ็นต์ เช่นกัน เพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้งและการใช้งาน ส่วนการติดตั้งบางพื้นที่ อาจติดตั้งแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบและระบบต่างๆของแต่ละหน่วยงานนั้นๆเป็นหลัก

ลักษณะส่วนประกอบต่างของตู้ประเภทนี้มีอะไรบ้าง ดังนี้

  

ระบบ FTTH (Fiber to the home) ในการออกแบบ ชนิดต่าง ที่ต้องการใช้งาน PLC-Splitter 

 

 

ภาพด้านบนแสดงรูปแบบต่างๆของตัวตู้ที่แตกต่างกันในเรื่องของการใช้งานเป็นหลัก แล้วแต่ลักษณะการใช้งานจริงในการเลือก

BY: BISMON

E-mail: sale@bismon.com

Tel:0-2563-5000

 




Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ

๐ Ethernet Switch ชุดประหยัด สำหรับอุปกรณ์ IT PoE Solution

๐ สาย RG6 Coaxial cable ในระบบ กล้องวงจรปิด ระดับ HD-AHD/CVI/TVI

๐ ทำไมต้องใช้สาย Fiber optic cable กับระบบกล้อง IP Camera?

๐ ประเภทของสายแลน STP หรือ Shielded Twisted Pair

๐ ทำไมต้องใช้ Fiber optic POE?