Fiber Patch Panel vs UTP Patch panel ต่างกันอย่างไร
Fiber Patch Panel และ UTP Patch panel แตกต่างกันอย่างไร และจำเป็นต้องใช้หรือไม่
มีผู้ออกแบบระบบ หรือทีมช่างมือไหม่ จะสับสน เกี่ยวกับการใช้งาน อุปกรณ์จัดการสายที่ติดตั้งในตู้สื่อสาร 19” Cabinet Rack ที่ห้องควบคุม หรือบางที่จะเป็น Data center ว่าจะใช้งานแผงพักสายและกระจายสายชนิดไหนดี เพราะว่าบางครั้งสับสนในเรื่องชื่อเรียกและสายเคเบิลที่แตกต่างกัน บางสถานที่ มีเพียงสายแลน UTP ซึ่งบางก็มีทั้งสายแลน UTP และสายไฟเบอร์ออฟติกในตู้เดียวกัน จึงจำเป็นจะต้องใช้ Patch panel ในการจัดการและจัดเก็บสายเพื่อง่ายต่อการจัดการสายเคเบิลที่เข้ามารวมและต่ออยู่ในตู้เดียวกันทั้งหมด
การจัดการสายเคเบิลจึงเป็นเรื่องสำคัญในการดูแลระบบขององค์กรให้ง่ายและคล่องตัวมากที่สุดในด้านการบริการและรองรับอนาคต ไม่ว่าจะเป็นระบบ CCTV, IP camera, Access control, Building automation, Ethernet LAN network เป็นต้น
Fiber optic Patch panel คือ แผงกระจายสายสัญญาณไฟเบอร์ออฟติก หรือแผงพักสายเคเบิล เพื่อง่ายต่อการจัดการ ทั้งพักและต่อใช้งานสายที่มีจำนวนมาก เพราะถ้าเราไม่มีแผงพักสายและกระจายสายประเภทนี้ เราจะจัดการสายยุ่งยากมาก ถ้าสายมีจำนวนมากขึ้น และมีการโยกย้ายปลายสายอยู่บ่อยครั้งในบางองค์กร
ในตัวแพงพักสาย Fiber patch panel สามารถติดป้ายชื่อ(Label) ที่แผงพักสาย หรือที่สายเชื่อมต่อ(Patch cord) เพื่อง่ายต่อการจัดการ โดย Fiber Patch panel ยังสามารถแบ่งออกเป็นแบบ
- Fiber patch panel เลื่อน เข้า-ออกได้(Drawer) 1-36 Core (แกน) รุ่นนี้จะเหมือนลิ้นชัก สามารถดึงเข้า-ออกมาได้เพื่อเสียบสายใช้งานสายและด้านหน้าไม่ยื่นออกมา เพราะจะมีฝาปิด กันการชนสายซึ่งทำให้สายเกิดความเสียหายได้ ส่วนใหญ่จะมีความสูงของ Fiber Patch panel ที่ 1U และรองรับหัวคอนเน็คเตอร์แบบ ST/SC/FC/LC ได้ ทั้งชนิด Multi-mode หรือ Single-mode
- Fiber patch panel เลื่อนเข้า-ออกได้(Drawer) 1-144 Core (แกน) ความสูง 3U รุ่นนี้สามารถใส่สายไฟเบอร์ออฟติกได้สูงสุด 144 Core(แกน) สามารถรองรับหัวต่อคอนเน็คเตอร์ได้แบบ ST/ST/FC/LC ได้ ทั้งชนิด Multi-mode และ Single-mode
UTP Patch panel คือ แผงพักสายและกระจายสายแลน(LAN) UTP cable ทุกชนิด โดยมีระดับตามspeed ความเร็ว ตั้งแต่ Cat5e, Cat6, Cat6A, Cat7 และ Cat8 ซึ่งก่อนสั่งซื้อจำเป็นจะต้องทราบถึงชนิดสายแลน UTP cable ที่เรามีก่อนว่าเป็นชนิดไหนระดับใด เพื่อที่จะสามารถเลือก UTP Patch Panel ใช้งานได้อย่างถูกต้อง
UTP Patch panel ส่วนใหญ่จะเป็นการต่อใช้งานกับอปุกรณ์ ทั้งภายนอกและภายในอาคาร เช่น กล้อง IP Camera ที่มีการติดตั้งทั้งภายนอกและภายใน แต่ใช้งานแผงพักสาย UTP Patch panel ชุดเดียวกันได้ เพื่อความสะดวกต่อการจัดการสายได้ง่ายและสะดวกในการดูแลรักษา แต่เดิมจะนิยมใช้กับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เป็น คอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ Desktop PC ซึ่งปัจุบันได้เปลี่ยนเป็นระบบการเชื่อมต่อแบบ WiFi ไปมาก ก็ต้องใช้แผงพักสายอยู่ดี ถ้ามีจำนวนตัว Access point หรือ WiFi จำนวนมากขึ้นเพื่อง่ายต่อการจัดการ
ดังนั้นไม่ว่าจะใช้สายแลนในการต่อใช้งานกับอุปกรณ์ประเภทได ก็ตาม ยังคงจำเป็นในการที่จะเลือกใช้ UTP Patch panel ในการจัดเก็บสายหรือจัดการสายได้อย่างเหมาะสม หรือผู้ใช้งานทั่วไปถ้ามีจำนวนสายเคเบิลน้อย ก็ไม่จำเป็นจะต้องเลือกใช้ UTP Patch panel ก็ได้เช่นกัน
กล่าวโดยรวม Patch panel ไม่ว่าจะเป็นสายเคเบิล ชนิด Fiber optic cable หรือ UTP cable นั้นก็ยังคงจำเป็นต่อการจัดการสายให้เรียบร้อยและสะดวกต่อการดูแลระบบของคุณ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่เราก็ยังเห็นผู้ใช้งานทั่วไป ไม่ใช้อุปกรณ์ประเภทนี้ คือดึงสายมาแล้วเสียบเข้าอุปกรณ์ Ethernet Switch หรือ DVR, NVRเลยโดยไม่มีตัวจัดการสาย ถามว่าได้ไหม ก็ได้เช่นกันเพราะเราไม่ได้ไปยุ่งกับสายอีกหลังจากติดตั้งเรียบร้อยแล้ว แต่ในบางองค์กรที่มีสายจำนวนมากๆ ก็ยังคงจำเป็น เช่นเดิม
By: BISMON
Tel:0-2563-5000
E-mail: sale@bismon.com
Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ
๐ มารู้จัก MODULAR JACK RJ45 (เต้ารับตัวเมีย)สำหรับสายแลน กันดีไหม
๐ กล่อง Wall Mount Fiber Indoor สำคัญอย่างไร
๐ ที่ BISMON เรามีบริการตัดแบ่งขายสายเคเบิล Fiber optic ตามความต้องการของลูกค้า