Dual Fiber และ Single Fiber แตกต่างกันอย่างไร ในการเลือกใช้งานอุปกรณ์สำหรับข่ายสาย Fiber optic cable
Dual Fiber และ Single Fiber แตกต่างกันอย่างไร ในการเลือกใช้งานอุปกรณ์สำหรับข่ายสาย Fiber optic cable
ในปัจจุบันการใช้งานสายไฟเบอร์ออฟติกได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นทุกระบบในการใช้งานด้านต่างๆ เช่น การส่งข้อมูล ภาพและเสียง, อินเตอร์เน็ต, กล้องวงจรปิด และการควบคุมระบบต่างๆผ่านระบบ PLC และอื่นๆที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนในบางครั้งการหาข้อมูลด้านการใช้งานอุปกรณ์ประเภทนี้ จึงไม่ค่อยมีมากนัก โดยทางทีมงานจึงได้จัดทำบทความ แบบกระชับ ไม่ยาวและจะไม่ลงลึกถึงรายละเอียดทางเทคนิคมากนัก แต่จะเน้นการใช้งานจริงเป็นหลักและจะพูดถึงประโยชน์ และข้อเสีย ของแต่ละประเภทอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1.Dual Fiber หมายถึง การใช้งานและส่งสัญญาณผ่านหัวคอนเน็คเตอร์แบบ 2 หัว หรือแบบคู่ (2 Core) โดยจะมีการส่งแบบ ไปและกลับ คนละเส้นของสายไฟเบอร์ออฟติก (TX/RX) โดยเราจะแบ่งรายละเอียด เพิ่มเติมได้ดังนี้
- แบ่งตามชนิด ของสายไฟเบอร์ออฟติก เช่น Single-mode จะใช้งานความยาวคลื่นแสง(wavelength) 1310/1550nm และ Multi-mode (wavelength) 850/1300nm
- แบ่งตามชนิด ของความเร็วในการใช้งาน เช่น 100Mbps, 1000Mbps และ 10GB และชนิดของหัว Connector ของอุปกรณ์
- 100Mbps หัวของคอนเน็คเตอร์จะเป็นแบบ SC connector
- 1000Mbps หัวของคอนเน็คเตอร์จะเป็นแบบ SC Connector
- 1.25GB หัวของคอนเน็คเตอร์จะเป็นแบบ LC connector
- 2.5GB หัวของคอนเน็คเตอร์จะเป็นแบบ LC connector
- 10GB หัวของคอนเน็คเตอร์จะเป็นแบบ LC connector
ซึ่งโดยปกติจะเป็นการออกแบบตามมาตรฐานสากลที่ออกแบบให้เป็นแบบ Dual Fiber(2 Core) หรือแบบคู่ และในหลักการทำงาน จะส่งสัญญาณไปกลับ สลับกันคนละหนึ่งเส้นของสายไฟเบอร์ออฟติก ทั้งด้านส่ง(TX: Transmit) ไปยังอีกฝั่ง RX: Receive ซึ่งในการออกแบบระบบ ผู้ออกแบบหรือเอ็นจิเนีย จำเป็นจะต้องคำนวณสายไฟเบอร์ออฟติก ให้เพียงพอกับระบบนั้นๆ เพราะถ้าไม่พียงพอต่อการใช้งาน และระยะทางไกลมาก เราจำเป็นจะต้องติดตั้งสายใหม่เพิ่มทีหลัง ซึ่งจะทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูงตามมา(แต่ก็จะมีวิธีแก้ คือการใช้แบบ Single Core/Single Fiber) ที่มีการคิดค้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้โดยเฉพาะ
2.แบบที่สอง Single Fiber หมายถึงการส่งสัญญาณผ่านสายไฟเบอร์ออฟติก แค่เพียง 1 เส้นหรือ
Single-Fiber โดยอาศัยหลักการทำงานแบบ WDM Technology (Wavelength-Division Multiplexing )หรือ Bidirectional(BIDI) ซึ่งจะสามารถส่งและรับ สัญญาณได้ทั้งสองทิศทาง ความยาวคลื่นแสง (wavelength) คนละแบบ คือ ต้นทางฝั่ง A จะส่งไปยังฝั่ง B ด้วยความยาวคลื่นที่ 1310nm และอีกด้าน ฝั่ง B จะส่งสัญญาณที่ 1550nm สลับกัน จึงทำให้การทำงานสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังประหยัดสายไฟเบอร์ออฟติกได้ดี และยังสามารถช่วยแก้ปัญหาการใช้งานของโครงข่ายที่สายไฟเบอร์ออฟติกไม่เพียงพอ ในระยะไกลๆ ได้เป็นอย่างดี ในการแบ่งแยก ออกมาเพื่อใช้งาน ในระบบต่างๆได้อย่างสมบูรณ์
ข้อดีของการใช้งานแบบ Single-Fiber หรือสายเพียง 1 แกน(Core)
- สามารถประหยัดสายเคเบิลไฟเบอร์ออฟติกได้ และลดต้นทุนในการใช้งานในระยะไกล
- สามารถใช้งานได้หลากหลายระบบ Applications ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ตัวแปลงสัญญาณ ทั้งรับและส่งนั้นๆ
ข้อเสีย ของอุปกรณ์แบบ Single-Fiber
- มีราคาแพงกว่าแบบ Dual Fiber แบบทั่วไป ทั้ง Media converter หรือ SFP transceiver หรือในอุปกรณ์ต่างๆ
ดังนั้นในการออกแบบและเลือกใช้งานอุปกรณ์สำหรับระบบโครงข่ายสายไฟเบอร์ออฟติกนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบถึงรายละเอียดของระบบนั้นๆก่อนเสมอว่า ต้องการที่จะใช้งานในรูปแบบใด และ สามารถเพื่อจำนวนของแกน เส้นไฟเบอร์ออฟติกไว้มากน้อยเพียงใด เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้งานในอนาคต
ทั้งนี้ระบบต่างๆและเทคโนโลยีก็ได้ปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่อง
By: BISMON
E-mail:sale@bismon.com
Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ
๐ ตู้ Wall Rack Indoor และ Outdoor ต่างกันอย่างไร
๐ MID YEAR SALE 20% ไปกับ สินค้า ARUBA กว่า 10 รายการ
๐ ตู้ Outdoor แบบตั้งพื้นสำหรับงาน Fiber optic cable มีกี่แบบที่สำคัญ
๐ ARSS (Anti-rodent self supporting) Fiber optic กันสัตว์กัดแทะสาย