มาทำความรู้จัก Jacket Rating ของสายแลนเคเบิลเครือข่าย CM vs CMR vs CMP vs CMX
มาทำความรู้จัก Jacket Rating ของสายเคเบิลเครือข่าย CM vs. CMR vs. CMP vs. CMX
เมื่อคุณจะทำการติดตั้งสาย Ethernet cable ไม่ว่าจะเป็นในผนังหรือบนเพดานหรือภายนอกอาคาร คุณอาจจะเห็นคำย่อเหล่านี้ เช่น CM/CMG, CMR, CMP, CMX จากช็อปสินค้าของ Distributor หรือตามเว็บไซต์ช็อปปิ้งว่ามันคืออะไรกันแน่ โดยคำย่อเหล่านี้จะกำหนดโดย National Electric Code (NEC) ได้ตั้งคำย่อเหล่านี้เพื่อแยกประสิทธิภาพในการใช้งานของสายเคเบิ้ล (UTP/FTP) ที่มีความสามารถในการหน่วงไฟหรือลามของไฟ ตามความปลอดภัยจากอัคคีภัย (ตามมาตรฐาน UL) เพื่อให้ใช้งานได้เหมาะสมในสถานที่ติดตั้งที่แตกต่างกันไป อย่างงานระดับโครงการหรือคอนโดที่ติดตั้งครั้งนึงต้องใช้งานได้ยาวนาน เพื่อให้คุณได้เลือกใช้สายเคเบิลได้เหมาะสมกับการใช้งานที่สุด
CM/CMG Cable Jacket
CM ย่อมาจาก “Communications Multipurpose” หรือ CMP ย่อมาจาก “Communications Multipurpose General” สายเคเบิ้ลที่มี jacket แบบ CM ส่วนมากจะนิยมเดินสายภายในชั้น หรือติดตั้งราบไปกับพื้น ไม่เหมาะที่จะเดินสายข้ามชั้นเพื่อไปเชื่อมที่ชั้นอื่นหรือติดตั้งในผนัง จะป้องกันการลามไฟลามในแนวราบเท่านั้น แต่ไม่ป้องกันลามไฟในแนวดิ่ง โดยผ่านการทดสอบ “Vertical-tray flame test" ตามมาตรฐาน UL 1685 ซึ่งหมายความว่าโดยปกติแล้วไฟจะลามไม่เกิน 8 ฟุต แล้วจะดับลงได้เอง CM/CMG ไม่เหมาะที่จะติดตั้งในพื้นที่ plenum และ riser เหมาะสำหรับเดินสายภายในชั้นและเชื่อมต่อทั่วไป
CMR (Riser) Cable Jacket
ต่อไป CMR ย่อมาจาก “Communications Multipurpose Riser” สายประเภทนี้ Jacket จะถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อป้องกันไม่ไฟลุกลามในแนวดิ่ง ไม่ให้ไฟลามไปชั้นอื่น เหมาะสำหรับงานติดตั้งตามช่อง Riser ในห้อง Shaft ของอาคารสูงที่เชื่อมถึงกันในแต่ล่ะชั้นโดยไม่จำเป็นต้องร้อยท่อ Conduit การทดสอบที่ใช้กับสายเคเบิล CMR กำหนดไว้ในมาตรฐาน UL 1666 Riser Cable Fire Test ซึ่งจำกัดความสูงของการแพร่กระจายของเปลวไฟและไฟดับเองได้เร็ว
CMP (Plenum) Cable Jacket
CMR ย่อมาจาก “Communications Multipurpose Plenum” สายแบบ Plenum ถูกออกแบบมาให้มีประสิทธิภาพในป้องกันไฟได้ดี Jacket ของสาย CMP มีสารหน่วงไฟมากที่สุดในกลุ่มและจำกัดปริมาณควันที่ปล่อยออกมาในกรณีที่เกิดเพลิงไหม้และป้องกันไม่ให้เปลวไฟลุกลามออกไปเกิน 5 ฟุต ตามมาตรฐาน NFPA 262 standard ทำให้สาย CMP เหมาะสมที่จะติดตั้งในบนช่องเพดานที่มีช่องว่างอากาศ (HVAC) หรือ ห้องที่พื้นยกสูง (Raised floor) โดยที่ไม่จำเป็นต้องเดินภายในท่อ
CMX Cable Jacket
แบบสุดท้ายคือ CMX หรือสายประเภท Outdoor เหมาะสำหรับฝังดินหรือเดินแขวานเสาในพื้นที่เปิดโล่ง เนื่องจากทนต่อรังสียูวีและทนต่อสภาพอากาศซึ่งเหมาะสำหรับให้ใช้งานกลางแจ้ง
สำหรับงาน Indoor เราควรเลือกอะไร ? CM vs. CMR vs. CMP
แล้วเราควรใช้แบบไหน คุณจะเห็นได้ว่ามาตรฐานของสายแต่ล่ะประเภทก็เหมาะที่จะใช้งานได้แตกต่างกันออกไป มีข้อดี และ ข้อเสียที่ต่างกันออกไป เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเดินสายให้สูงสุด สิ่งสำคัญคือต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าประเภทของสายเคเบิลที่เลือกนั้นตรงตามมาตรฐานที่กำหนดไว้สำหรับโครงการของคุณหรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว แนะนำให้ใช้สายเคเบิล CMP เนื่องจากสามารถใช้แทนได้กับสายเคเบิลทุกประเภท แต่ก็มีราคาแพงกว่าสายประเภทอื่น อย่างไรก็ตาม สายเคเบิลประเภท CMR ก็เป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน หากคุณไม่ต้องการเดินสายไฟผ่านท่อลม (Air Duct) สายเคเบิล CMR ก็เพียงพอแล้วสำหรับการใช้งานแล้ว ส่วน CM ก็เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป
สรุป
CM = เหมาะกับการติดตั้งสายแนวราบภายในชั้นเดียวกัน
CMR = สามารถป้องกันไฟลามในแนวราบและแนวดิ่งเดินสายระหว่างชั้น
CMP = เหมาะเดินในฝ้าเพดานหรือห้องที่ติดตั้งพื้นยกสูง
CMX = เหมาะสำหรับงาน Outdoor เพราะทนต่อ UV
สายแลนของ BISMON ได้มาตรฐาน UL (Underwriters Laboratories) มั่นใจได้ในคุณภาพ
แล้วเราจะได้ประโยชน์อะไรกับการเลือกใช้สายที่เป็น CM, CMR, CMX, CMP?
สิ่งหนึ่งที่ผู้ใช้งานทั่วไปที่คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก อาจจะต้องเลือกประเภทของสายก่อน ซึ่งส่วนมากจะเป็นระบบองศ์กรขนาดใหญ่ หรืออาคารสูง ที่มีระบบสายเคเบิล จำนวนมาก ซึ่งถ้าหากเกิดเพลิงใหม้ขึ้น อาจจะเป็นเชื้อไฟ อย่างดีในการลามไฟ
ส่วนลูกค้าตามบ้าน และสำนักงานขนาดเล็ก ก็คงไม่จำเป็น หรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับงบประมาณของผู้ใช้งานในแต่ละบุคคลไป ในการเลือกใช้งานของสายแลน ประเภทนี้
โดยส่วนมากจะเน้นที่คุณภาพในการส่งสัญญาณเป็นหลัก ที่ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพหรือไม่ เช่น ติดตั้งได้ไกล ถึง 90 เมตร แล้วความเร็วไม่ตก และได้เต็มสปีด เป็นต้น
ยินดีให้คำปรึกษาในการออกแบบระบบที่เกี่ยวข้องกับข่ายสายสัญญาณ พร้อมแนะนำการเขียน TOR สำหรับงานโครงการภาครัฐและเอกชน ทั่วไป
By: BISMON
e-mail:sale@bismon.com
Tel:0-2563-5000
Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ
๐ SFP SC and SFP LC transceiver สำหรับสายไฟเบอร์ออฟติก ต่างกันอย่างไร
๐ ความสำคัญของ Surge Protector สำหรับงานกล้อง CCTV
๐ ODF Fiber optic 1 ชุด ประกอบด้วยอะไรบ้าง
๐ วิธีการเลือกสาย UTP PATCH CORD แบบไหนดี
๐ การติดตั้ง Closure Fiber และ Loop สายไฟเบอร์ออฟติก บนเสาไฟฟ้า