3 วิธีเบื้องต้นในการเลือกซื้อสายไฟเบอร์ออฟติกให้เหมาะสมกับการใช้งาน

3 วิธีเบื้องต้นในการเลือกซื้อสายไฟเบอร์ออฟติกให้เหมาะสมกับการใช้งาน

3 Checklist by Mr. Bismon

3 วิธีเบื้องต้นในการเลือกซื้อสายไฟเบอร์ออฟติกให้เหมาะสมกับการใช้งาน

 

1. หน้างานเป็นแบบใด (Indoor or Outdoor)

การเลือกใช้งานสายไฟเบอร์ออฟติกแบบภายในอาคาร (Indoor) และ ภายนอกอาคาร (Outdoor) นั้น มีความแตกต่างกันพอสมควรในเรื่องของโครงสร้างสายเคเบิลที่ต้องรู้ก่อนการเลือกนำมาใช้งาน ดังนี้

โครงสร้างของสายชนิดติดตั้งแบบหน้างานเป็นภายในอาคาร (Indoor Type)

สายเคเบิลไฟเบอร์ออฟติกที่นิยมนำมาติดตั้งแบบหน้างานเป็นภายในอาคาร (Indoor) ตามมาตรฐานสากลจะใช้โครงสร้างแบบ Tight-Buffered cables (ท่อแน่น) ข้อดีของสายประเภทนี้คือ ติดตั้งง่าย สะดวก สายมีความอ่อนตัว, การป้องกันอัคคีภัยเปลือกนอกที่ผลิตจากวัสดุ LSZH และการโค้ง บิด งอ ของสายเคเบิลขณะติดตั้งทำได้ดี ส่วนตัวสายเคเบิลแบบ Indoor จะไม่มีเจลของเหลวกันความร้อนอยู่ภายในตัวสายเคเบิล ที่จะทำให้เกิดปัญหาในการติดตั้งแบบแนวดิ่งสำหรับอาคารสูงที่ของเหลวจะไหลลงมา กองอยู่ด้านล่างในถาดเก็บอุปกรณ์ทำให้อุปกรณ์ต่างๆภายในตู้เกิดความเสียหายได้

โครงสร้างของสายชนิดติดตั้งแบบหน้างานเป็นภายนอกอาคาร (Outdoor Type)

สายเคเบิลไฟเบอร์ออฟติกที่นิยมนำมาติดตั้งแบบหน้างานที่เป็นภายนอกอาคาร (Outdoor type) ซึ่งตามมาตรฐานสากลจะนิยมใช้โครงสร้างแบบ Loose Tube (ท่อหลวม) เพราะด้านในของท่อจะมีของเหลวแบบเจล (Gel Fill) ที่สามารถป้องกันความร้อนและแสงแดดได้ดี ส่วนโครงสร้างด้านนอก ที่เรียกตามชื่อชนิดของสายไฟเบอร์ออฟติก เช่น ADSS, ARSS, Direct buried, Duct armoured ต่างๆ และเปลือกนอกกี่ชั้นและส่วนที่มีเกราะป้องกัน(Armour)ด้านใน หรือไม่มีนั้น ขึ้นอยู่กับงบประมาณและลักษณะการติดตั้งรวมถึงสภาพแวดล้อมต่างๆประกอบในการตัดสินใจเลือกใช้งานสายให้ถูกกับหน้างานการติดตั้งจริงอีกครั้ง

 

2. ใช้สายประเภทใด (Single-mode or Multi-mode)

Single-mode

เป็นชนิดของแท่งแก้ว (Optical fiber) แบบ Single-mode ที่มีคุณสมบัติสามารถส่งผ่านข้อมูลความเร็วสูงได้ไกลมากถึง 120 กิโลเมตร ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์แปลงสัญญาณ และไม่จำกัดความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลที่ความเร็ว ตั้งแต่ 1MB – 100GB ได้ แต่อุปกรณ์ (Active device) ที่สามารถรองรับสายประเภทนี้จะมีราคาค่อนข้างสูงกว่าชนิด Multi-mode แต่ราคาสายเคเบิลชนิด Single-mode ราคาจะถูกกว่าชนิด Multi-mode ซึ่งจะกลับกัน ดังนั้นจึงขึ้นอยู่กับงบประมาณและความเร็วในการใช้งานเป็นหลักในการเลือกนำไปใช้งาน

Multi-mode

เป็นชนิดของแท่งแก้ว(Optical fiber) แบบ Multi-mode ที่มีคุณสมบัติสามารถส่งผ่านข้อมูลความเร็วสูงได้แบบจำกัดระยะ และจะไม่ได้ไกลเท่าชนิด Single-mode และจะมีการแบ่งขนาดและชนิดของแท่งแก้วดังนี้ 62.5/125um(OM1), 50/125um(OM2m OM3,OM4,OM5) เป็นต้น ส่วนด้านความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลจะได้ตั้งแต่ 10,100, 1GB, 10GB, 40GB, 100GB  และจะจำกัดระยะทางตามความเร็วซึ่งจะไม่เท่ากัน ดังนั้นสายประเภท Multi-mode จึงเหมาะกับระบบที่มีการเชื่อมต่อไม่ไกลมากนัก อาจจะมาเกิน 600 เมตร เป็นหลัก และที่นิยมนำไปใช้งานส่วนใหญ่จะเป็นการติดตั้งภายในอาคารมากกว่า

 

3. จำนวนคอร์ (Core) การใช้จำนวนคอร์ที่เหมาะสม

จำนวนคอร์ (Core) คือจำนวนของแกนของแท่งแก้วด้านในเป็นเส้น เล็กๆ ใสๆ ที่นำไปใช้งานจริง โดยปกติผู้ใช้งานทั่วไปจะนิยมเลือกใช้งานตั้งแต่ 1, 2, 4, 6, 8, 12, 24, 48, 60, 72, จนถึง 216 Core ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะการนำไปใช้งานและระบบต่างๆที่นำมาเชื่อมต่อว่ามากน้อยแค่ไหน ถ้าตามบ้านหรือสำหนักงานขนาดเล็กก็จะไม่เกิน 6 Core แต่ถ้าหน่วยงานหรือองค์กรขนาดใหญ่ก็มากขึ้นตามระบบเป็นต้น ดังนั้นจำนวนคอร์จึงมีความสำคัญเป็นตัวเลือกสุดท้ายและราคาก็แพงขึ้นตามจำนวนคอร์ที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน

 

By: BISMON

Tel:0-2563-5000

e-mail: sale@bismon

Line Office: @bismon

 

Line@bismon

เพิ่มเพื่อน

 




Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ

๐ QSFP Optical Transceiver คืออุปกรณ์อะไร?

๐ ตู้ Rack 19 นิ้ว สำหรับงานระบบสื่อสารมีอะไรบ้าง

๐ มารู้จัก MODULAR JACK RJ45 (เต้ารับตัวเมีย)สำหรับสายแลน กันดีไหม

๐ POF(Plastic Optical Fiber)คือสายประเภทไหนมีกี่ประเภทและนำไปใช้งานแบบไหน

๐ SFP SC and SFP LC transceiver สำหรับสายไฟเบอร์ออฟติก ต่างกันอย่างไร