ทำไมคุณจึงไม่ควรใช้ APC Connector กับอุปกรณ์เน็ทเวิร์คชนิดต่างๆ

ทำไมคุณจึงไม่ควรใช้ APC Connector กับอุปกรณ์เน็ทเวิร์คชนิดต่างๆ

ทำไมคุณจึงไม่ควรใช้ APC คอนเน็คเตอร์กับอุปกรณ์เน็ทเวิร์คชนิดต่างๆ

Why you cannot use APC connectors with network equipment?

 

ในปัจจุบันการใช้งานระบบสายสัญญาณไฟเบอร์ออฟติก(Fiber optic cable) มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายมากขึ้นและก็มีการเลือกใช้งานอุปกรณ์ระบบต่างๆ หรือ network equipment เข้ามาเกี่ยวข้องในทุกๆอุตสาหกรรม และก็มีการเลือกใช้สายสัญญาณไฟเบอร์ออฟติก(Fiber optic cable) และหัวคอนเน็คเตอร์(Connector) หลากหลายชนิดมากขึ้นด้วยเช่นกัน ทำให้ปัญหาในการสื่อสารและความเข้าใจในด้านการใช้งานที่ถูกต้องในกลุ่มช่างหรือวิศวกรต่างๆ อาจจะจำกัดอยู่ในวงแคบๆ และมีการเข้าใจผิด ในการเลือกใช้คอนเน็คเตอร์ชนิด APC(สีเขียว) หรือที่เรียกตามศัพท์เทคนิคว่า SC/APC หรือ LC/APC เลือกมาเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ network equipment ประเภท Media converter, Hub Switch, Audio Video Fiber converter ได้ไหม หรือไม่ได้ เพราะสาเหตุอะไร

 

ซึ่งในบทความนี้จะมาทำความเข้าใจกันว่า ลักษณะของหัวไฟเบอร์ออฟติกคอนเน็คเตอร์แบบ APC และ UPC ต่างกันอย่างไร และทำไมถึงไม่สามารถนำหัวคอนเน็คเตอร์ชนิด APC ไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ network equipment ได้

ดังจะเห็นจากภาพด้านบน จะเป็นลักษณะของปลายด้านบนสุดของหัวคอนเน็คเตอร์ไฟเบอร์ออฟติกในรูปแบบต่างๆ และก็จะแตกต่างกันในลักษณะการใช้งานเป็นต้น แต่ในปัจจุบันอุปกรณ์ network equipment ส่วนใหญ่ที่ผลิตขึ้นมาจะเป็นชนิด UPC type เป็นหลัก แต่ก็จะมีชนิด APC จะเป็นอุปกรณ์ประเภท RF equipment หรือระบบ FTTH เช่นพวกอุปกรณ์ GPON, EPON ที่รองรับการใช้งานในรูปแบบ PLC-Splitter เป็นหลัก

ในภาพประกอบด้านบนจะเป็นการแสดงตัวอย่างหัวคอนเน็คเตอร์ด้านในของตัวอุปกรณ์ชนิดต่างๆ ที่เป็นแบบ UPC connector ทั้งหมด ซึ่งในบางครั้งทีมช่าง หรือวิศวกรที่ไม่มีความชำนาญ ก็อาจจะเข้าใจผิด โดยการนำสาย Fiber optic cable ที่มีหัวคอนเน็คเตอร์ติดมาอยู่แล้วกับสายเป็นสีเขียว แบบชนิด APC(ส่วนใหญ่จะเป็นชนิด SC/APC) มาเสียบใช้งานกับอุปกรณ์ network equipment  ทำให้สัญญาณติดๆ ดับๆ ใช้ได้บ้างไม่ได้บ้าง เพราะว่าหน้าคอนแท็คสัมผัสในการรับช่องสัญญาณไม่สนิท ทำให้การรับส่งสัญญาณมาไม่เต็มในการส่งสัญญาณระหว่างกัน ทำให้เกิดปัญหา

ดังภาพด้านบนคุณจะเห็นว่าลักษณะของปลายหัวคอนเน็คเตอร์จะไม่สนิทกันเวลาดันเข้ามาเชื่อมต่อกัน ซึ่งหัวคนละชนิดกัน  APC/UPC ซึ่งผิดมาตรฐานการเชื่อมต่อและใช้งาน เพราะอุปกรณ์ Network Equipment ส่วนใหญ่ด้านในจะผลิตออกมาเป็นมาตรฐานสากล ชนิด UPC เป็นหลัก นอกเสียจากอุปกรณ์ที่รองรับระบบอื่นที่เป็นชนิด APC ก็คือประเภท RF Equipment หรือ Fiber to the home เป็นต้น

ภาพด้านบนให้เราสังเกตว่า ช่องเสียบหัวคอนเน็คเตอร์ที่รองรับ APC connector ส่วนใหญ่จะเป็นสีเขียว และจะไม่ใช่อุปกรณ์ที่เป็น network equipment ซึ่งจะแตกต่างกันอย่างชัดเจน ในการเลือกใช้งานให้ถูกต้อง

ภาพด้านบนแสดงการเชื่อมต่ออุปกรณ์ network equipment สำหรับ ตัวแปลงสัญญาณ Media converter Fiber optic cable  ที่เป็นชนิด SC/UPC  และ LC/UPC

การแก้ปัญหาสำหรับสายเคเบิลไฟเบอร์ออฟติกที่มีหัวคอนเน็คเตอร์ชนิด SC/APC หรือ LC/APC อยู่แล้ว โดยไม่ต้องทำการตัดทิ้งและเข้าหัวคอนเน็คเตอร์ใหม่นั้นก็จะมีการใช้งานตัวแปลงสัญญาณ คอนเน็คเตอร์และสายเชื่อมต่อ patch cord แปลงหัวคอนเน็คเตอร์จาก  APC ไปเป็น UPC สลับด้านกัน ตามภาพด้านล่าง

ดังนั้นการเลือกอุปกรณ์ประกอบต่างๆให้ตรงตามมาตรฐานการใช้งานนั้นเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยให้ทีมงานของคุณและองค์กรของคุณมีความรู้ความสามารถในการออกไปปฎิบัติงานอย่างเต็มความสามารถ และให้ผู้ใช้งานได้ใช้งานอุปกรณ์ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพต่อไป

 

By: BISMON

Tel:0-2563-5000

e-mail: sale@bismon

Line Office: @bismon

 

Line@bismon

เพิ่มเพื่อน

 




Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ

๐ กล่องต่อสาย Fiber Closure Splice Dome และ Inline ต่างกันอย่างไร

๐ Clearance Sale Fiber optic AMP-Netconnect AUG 2019

๐ ตู้ Rack 19 นิ้ว สำหรับงานระบบสื่อสารมีอะไรบ้าง

๐ Fiber optic cable ชนิด แขวนอากาศ มีกี่ชนิด

๐ MPO/MTP Fiber optic Patch cord คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร ในการใช้งาน