ประโยชน์การใช้งาน ODF-Rack mount Drawer 1U สำหรับงาน Fiber optic cable
ประโยชน์การใช้งาน ODF-Rack mount Enclosure Drawer 1U สำหรับงาน Fiber optic cable
เราลองมาดูกันว่า ODF ย่อมาจากคำว่า Optical Distribution Frame หรือ ศัพท์บางกลุ่ม ก็เรียกว่า Rack mount Enclosure หรือ Patch panel fiber optic แล้วแต่จะเรียก จริงๆก็คือ กล่องเก็บปลายสายสายเคเบิ้ล ไฟเบอร์ออพติก (Fiber optic cable) ที่ติดตั้งในตู้สื่อสาร หรือตู้ Rack 19 นิ้วอีกที ดังนั้น ODF รุ่นนี้ ที่จะกล่าวถึง จะมีประโยชน์ มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานของผู้ใช้เป็นหลัก หรือมีคุณสมบัติ ตรงไหนบ้าง ที่หน้าใช้งาน หรือเหมาะกับงานของผู้ใช้ กลุ่มไหน กันบ้าง มาดูกันทีล่ะข้อ
1. รุ่นนี้ ลักษณะการใช้งานที่ดี อันดับแรก สามารถติดตั้งได้กับตู้สื่อสาร หรือ ตู้ Cabke Rack ขนาดหน้ากว้าง 19 นิ้ว และสามารถปรับหูยึดตัวถาด กลับด้านในตัวเดียวกัน ยึดได้ขนาด 23 นิ้ว เฉพาะตู้ Rack นำเข้าบางรุ่นที่ไม่ใช่ มาตรฐานหน้ากว้าง 19 นิ้ว
2. ตัวกล่องเก็บ สามารถเลื่อนถาด(Drawer)ที่อยู่ด้านในออกมาได้ โดยใช้การออกแบบใส่รางเลื่อนแบบรางลูกปืน เพื่อให้การใช้งานสะดวกและสวยงาม กว่าแบบอื่น และสามารถดึงออกมาได้สุดถาด เพื่อการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมที่สะดวกมากขึ้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของสายเคเบิ้ลแต่ละประเภท และการติดตั้งของทีมงานช่างแต่ละคน ในการล็อคยึดจับสายด้านล่างตู้เพื่อที่จะสามารถเลื่อนถาดได้ง่ายหรือยาก
3. ด้านหน้าของกล่องเก็บสาย ODF-Rack mount enclosure รุ่นนี้ สามารถใช้มือหมุน น็อตด้านหน้า ฝาปิด ทั้งสองด้านได้ด้วย โดยใช้น็อตชนิด (PEM) เพราะมีสปริงในตัวสะดวกในการยึดจับและใช้งานเพื่อเปิดเข้าออก ปิดล็อคสนิท ป้องกันการเดินชนสาย หรือมีใครมาจับสายเคเบิ้ล ทำให้เกิดการเสียหายได้
4. ด้านข้างของกล่อง มีช่องสาย patch cord ออกมาได้สะดวก ทั้งสองด้านและใหญ่พอที่จะรองรับสายได้เต็มจำนวนของ กล่อง ODF ที่ 36 Core ทั้งแบบ ST/SC/FC หรือ LC ได้ 48 Core ที่ 1U
5. ด้านหน้าของกล่อง จะมีพื้นที่ว่าง สามารถติดแผ่น Label หรือป้ายชื่อได้สะดวก ง่ายต่อการใช้งานและสะดวกต่อการติดตั้ง
6. ภายในตัวถาดเก็บสาย จะมีห่วง ครึ่งวงกลม ทั้งสองด้านของ Splice tray เพื่อความสะดวกในการเก็บสายให้ดูดีและสวยงาม และที่สำคัญ เก็บสายสวยแล้วค่า Loss ก็ไม่สูงเพราะมีที่เก็บที่ลงตัว อยู่ภายในถาดของกล่องเก็บ ODF-Rack mount fiber optica cable
7. ภายในถาดจะมี รูยึดจับ Splice tray ถึง 2 รู พร้อมยึดจับด้วยน็อต เพื่อไม่ให้ Splice tray หมุน ไปด้านใด ด้านหนึ่ง ส่งผลให้สายไฟเบอร์ออพติก เกิดความเสียหายได้ หรือค่า loss สูงได้ ในบางกรณี หรือ กรณีที่เรา ย้ายถาดจากด้านบนลงด้านล่างตู้ หรือ ขยับถาด ODF-Rack mount Enclosure
8. ตัวกล่องเก็บสาย รุ่นนี้ สามารถรองรับสายไฟเบอร์ออพติก ได้สูงสุด 36 Core รองรับหัวคอนเน็คเตอร์แบบ ST, SC, FC, ส่วนหัวชนิด LC สามารถรองรับได้สูงสุดถึง 48 Core ที่ความสูง 1U ODF-Rack mount enclosure, โดยตัวกล่องเก็บปลายสาย จะมี Snap-in Plate ที่สามารถยึดจับ Adapter ตัวเมียได้ตั้งแต่ 6 และ 12 หัว ต่อหนึ่ง Snap-in Plate, และ แบบ 16 Core แบบ LC connector ทั้งชนิด Single mode และ Multi mode ได้
9. ภายในถาดสามารถรองรับการยึดจับ ทางสายเข้า ทั้งสองด้าน โดยวิธีการใช้เคเบิ้ลไทด์ล็อค โดยร่องตัวยึดจับที่ใช้กับเคเบิ้ลไทด์ จะใหญ่กว่าปกติสามารถใช้สายเคเบิ้ลไทด์ได้ใหญ่ และเพื่อการยึดล็อคได้แน่นหนา ไม่ทำให้สายเคเบิ้ลไฟเบอร์ออพติกหลุดหรือขยับได้ เพราะจะทำให้สายเคเบิ้ลที่ Fusion Splice ไปแล้วนั้น ที่อยู่ด้านในเกิดความเสียหายได้
10. ด้านหลังของกล่องเก็บ ODF-Rack mount Enclosure มีทางสายเข้า จำนวน 4 รู โดยจะปิดด้วยจุกยาง เพื่อความคล่องตัวในการติดตั้ง เพราะไม่รู้ชนิดของสายเคเบิ้ลในการติดตั้งเข้ากล่อง จึงออกแบบรูสายเข้าและปิดด้วยจุกยาง ซึ่งจุกยางสามารถถอดออกได้ และสามารถใส่เคเบิ้ลแกรนด์ เบอร์ PG16 ได้สามารถยึดจับได้แน่นและมั่นคงขึ้น ตามมาตรฐานสากล
11. รู ทางสายเข้าทั้งสองด้าน สามารถถอดออกมาได้ โดยยึดจับด้วยน็อตสกรู และสามารถดึงสายเคเบิ้ล ไฟเบอร์ออพติก ออกมาได้ แม้กระทั้งกรณีที่ Fusion Splice สาย pigtail ไปแล้ว เพราะตัวถาด ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับ การย้ายตู้ หรือย้ายสายถอดออกไปด้านนอกตู้ โดยไม่ให้กระทบกับสายเก่าที่เชื่อมต่อ หรือ Fusion splice ไปแล้ว นี่คือข้อดีที่สุด ที่ลูกค้าได้ประโยน์สูงสุด โดยไม่ต้องเสียเงินค่าแรง เชื่อมต่อสาย กรณีย้ายตู้ 19" Cabinet Rack
12. รูปของ Snap-in Plate ชนิดต่างๆ ที่สามารถใช้งานร่วมกับ ODF-Rack mount enclosure fiber optic ได้ เช่น ชนิด ST/SC/FC/LC/MU
Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ
๐ (ภาคต่อ)คุณรู้จักสายสัญญาณในระบบ สายแลน (LAN) UTP Outdoor กันดีหรือยัง
๐ ทำไมต้องใช้ตู้ 42U Outdoor Rack 19inch ในการติดตั้งระบบต่างๆ
๐ Adapters & Connectors Fiber optic มีกี่ชนิด อะไรบ้าง
๐ POF(Plastic Optical Fiber)คือสายประเภทไหนมีกี่ประเภทและนำไปใช้งานแบบไหน