Fiber Loose tube vs Tight Buffer cable ต่างกันอย่างไร

Fiber Loose tube vs Tight Buffer cable ต่างกันอย่างไร

ความแตกต่างระหว่าง ชนิด Loose-tube ขนาด 250um vs.Tight-buffered ขนาด 900um ของสาย Fiber Optic Cable

สายไฟเบอร์ออพติก ทั้งสองชนิดนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และทำไม เราถึงจำเป็นจะต้องรู้ และเราจะได้ประโยชน์อะไรกับการเลือกใช้งานที่ถูกต้องหรือผิดพลาด หรือสามารถใช้งานแทนกันได้หรือไม่

คำถามต่างๆที่กล่าวมาแล้วนั้น เป็นคำถามที่ผู้ออกแบบระบบและหรือบริษัทที่ต้องนำเสนอโซลูชั่นให้แก่ลูกค้าหรือหน่วยงานต่างๆ ที่ต้องการใช้งานเกี่ยวกับสายไฟเบอร์ออฟติกในระบบต่างๆให้ถูกต้องและได้ประโยชน์สูงสุดในการใช้งานและคุ้มค่ากับงบประมาณนั้นๆ

ตามภาพด้านบนจะเปรียบเทียบกับสายชนิด Indoor/Outdoor ทีไม่มีเกราะป้องกัน(armoured) สายเคเบิล Fiber optic cable ทั้งสองประเภทนี้จะมีความคล้ายกันเฉพาะผิวเปลือก Jacket Sheath ด้านนอกเท่านั้น ส่วนโครงสร้างภายในจะแตกต่างกันในเรื่องของท่อในการใส่หรือบรรจุแกนแท่งแก้ว และวัสดุที่ผลิตห่อหุ้มแกนแท่งแก้วเท่านั้น

ชนิด Loose tube ในภาพด้านบนจะมีท่อสีขาวแค่เพียงหนึ่งท่อที่สามารถบรรจุแกนแท่งแก้วของไฟเบอร์ออฟติกได้สูงสุดที่ 12 แกนต่อหนึ่งท่อเท่านั้น โดยจะมีลักษณะของแกนแท่งแก้วที่ห่อหุ้มอยู่จะมีขนาด 250 ไมครอนและเนื่องด้วยข้อจำกัดของโค้ดสีที่มีได้แค่เพียง 12 สี(EIA/TIA-598)ที่ตรงตามมาตรฐานสากลในการใช้งาน สายเคเบิลโครงสร้างนี้จึงสามารถใส่หรือบรรจุได้แค่เพียง 12 แกน(Core) เท่านั้น ดังนั้นสายประเภทนี้จึงเหมาะกับการใช้งานประเภทภายนอกอาคาร(Outdoor)เพราะว่าด้านใน Loose tube จะบรรจุของเหลวชนิด Gel Fill ที่สามารถป้องกันความร้อนและน้ำเข้าได้ และยังสามารถลดแรงเสียดทานในขณะติดตั้งสายเคเบิลได้เป็นอย่างดี โดยไม่ทำให้แกนแท่งแก้วเกิดความเสียหายได้

ชนิด Tight buffer ในภาพด้านขวามือนั้น ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานในสภาพแวดล้อมที่เป็นแบบภายในอาคาร เช่น อาคารสูงหรืออาคารสำนักงานทั่วไป ซึ่งตัวสายเองถูกออกแบบมาให้มี วัสดุห่อหุ้ม แกน ชั้นนอกที่ 900 ไมครอน จาก 250 ไมครอน(ตามภาพ)ซึ่งจะมีลักษณะที่แข็งแรงกว่าและใหญ่กว่าแกนของชนิด Loose-tube จึงเหมาะกับการติดตั้งที่ต้องการ การโค้งงอ บิด หรือเข้ามุมต่างๆกัน โดยไม่ทำให้สายเกิดความเสียหายขณะติดตั้ง หรือมีค่า Insertion Loss ที่สูงเกินนั้นเอง

จากภาพด้านบนจะเปรียบเทียบกับสายสีส้ม (Loose-tube)ที่ถูกออกแบบมาใช้งานภายนอกอาคารโดยเฉพาะที่มีเกราะป้องกัน(Armoured) ซึ่งสาย Fiber optic cable ชนิด Loose-tube และ Tight buffer อีกหนึ่งรูปแบบที่นิยมผลิตเพื่อใช้งานติดตั้งในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันเท่านั้น

สายไฟเบอร์ออฟติก(Fiber optic cable)แบบ Loose tube ในภาพสายที่เป็นเปลือกสีส้มแบบมีหลายท่อ หรือที่เรียกว่า Multi-loose tube ซึ่งสามารถผลิตหรือบรรจุแกนแท่งแก้วได้เป็นจำนวนมาก ตั้งแต่ 4-120 แกน(Core) หรือมากกว่าและมีขนาดแกนแท่งแก้วที่ 250 ไมครอนและเหมาะกับการใช้งานติดตั้งภายนอกอาคารโดยเฉพาะ ที่เป็นสาย main trunk cable

ในภาพด้านขวามือจะเป็นสายไฟเบอร์ออฟติก(Fiber optic cable)ที่มีเปลือกสีดำ แบบ Tight Buffer จะห่อหุ้มแกนแท่งแก้ว 250 ไมครอน อีกหนึ่งชั้นที่ 900ไมครอน ชนิดที่ออกแบบมาให้เสริมความแข็งแรงและรองรับแรงดึงด้วย  Aramid-Yarn(เส้นฝอยสีเหลือง)-ดังภาพ- ต่อหนึ่งแกนแท่งแก้ว จึงเหมาะกับการติดตั้งแบบภายในอาคาร เพราะสามารถรองรับการ บิด งอ ดึง โค้ง หรือ เข้ามุมต่างๆ ได้ดี และไม่ทำให้สายเคเบิลภายใน เกิดความเสียหายขณะติดตั้งได้

ทั้งนี้เราจะเห็นว่า สายทั้งสองประเภทนี้ ซึ่งมีการออกแบบที่แตกต่างกันในเรื่องของการใช้งานเป็นหลัก จึงจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้ออกแบบระบบที่ต้องการความรู้และความถูกต้องในการเลือกใช้งานสายเคเบิล ไฟเบอร์ออฟติก(Fiber optic cable) ให้เหมาะสมกับระบบและสภาพแวดล้อมมากที่สุด

จากภาพด้านบน เราจะเห็นการแสดงการออกแบบติดตั้งสายไฟเบอร์ออฟติก(Fiber optic cable)ภายในอาคาร(Indoor) ตามชั้นต่างๆของอาคาร เพื่อกระจายสายให้ทั่วถึง ซึ่งตามรูปตัวอย่างสายด้านบนขวามือ จะเป็นภาพของสายไฟเบอร์ออฟติก(Fiber optic cable) ชนิด Tight Buffer ซึ่งเป็นสายขนาดที่ห่อหุ้มแกน ขนาด 250ไมครอน อีกหนึ่งชั้น โดยมีขนาดที่ 900ไมครอน ซึ่งจะมีขนาดใหญ่กว่าชนิด Loose-tube จึงทำให้สามารถป้องกันแรงกระแทกได้ดี ทั้งสองชนิด ที่สามารถติดตั้งได้ทั้ง Indoor และ Outdoor เพราะถูกออกแบบมาโดยเฉพาะไม่ทำให้เกิดค่า Loss สูงและปลอดภัยขณะติดตั้ง จึงสามารถแก้ปัญหาการ บิด งอโค้งได้ดีและทำให้สายประเภทนี้เป็นที่นิยมสำหรับใช้งานภายในอาคาร

จากภาพด้านบน จะเป็นการออกแบบติดตั้งสายไฟเบอร์ออฟติก(Fiber optic cable)ชนิดภายนอกอาคารและใช้งานสายเคเบิลชนิด Loose-Tube ทั้งสองแบบในการติดตั้ง ตามภาพด้านบนขวาชนิดเปลือกสีดำจะเป็นแบบ Single-Loose tube(บรรจุสายได้ สุงสุด 12 แกน) และแบบ Multi-loose tube(บรรจุสายได้สูงสุด 288 Core) ซึ่งสายทั้งสองโครงสร้างจะเป็นการออกแบบให้ใช้งานที่แตกต่างกัน เช่น จำนวนแกนสายมาก จะเน้นติดตั้งเป็น  Main cable หรือ Trunk cable เพื่อเป็นจุดศูนย์รวมสายจาก Center แล้วมาแยกกันที่ปลายทาง เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและเหมาะสมกับการใช้งาน

ภาพแสดงแกนแท่งแก้วที่ห่อหุ้มสายใยแก้วนำแสงอยู่ เพื่อให้เห็นภาพความแตกต่างระหว่างทั้งสองชนิด

 

 

Loose-tube 250um Fiber

Tight-buffered 900um Fiber

Core

I9um, SMF; 50um or 62.5um, MMF

9um, SMF; 50um or 62.5um, MMF

Cladding

125um

125um

Coating

Soft plastic: 250um

Soft plastic: 250um

Tight Buffer

/

Hard plastic: 900um

 

 

 

จากตารางด้านบนเป็นการเปรียบเทียบสายทั้งสองประเภทว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรของแกนพลาสติกที่ห่อหุ้มสายอยู่

สรุปว่าสายทั้งสองประเภทมีข้อดี ที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานเป็นหลัก หรือสามารถประยุกต์ใช้งานได้ ทั้งแบบภายนอก และ ภายในได้ เช่นกัน

 

By: BISMON

e-mail:sale@bismon.com

 




Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ

๐ Managed vs Unmanaged Switches แตกต่างกันอย่างไร?

๐ Fiber optic cable กับระบบกล้องวงจรปิด Analog HD ทำงานร่วมกันอย่างไร?

๐ NEW! สินค้าใหม่แนะนำ 48 Core 2U ODF Rack mount Fiber optic

๐ เทคนิค ในการเลือกใช้งาน MODULAR PLUG (ตัวผู้)

๐ กล่องต่อสาย Fiber Closure Splice Dome และ Inline ต่างกันอย่างไร