19inch Rack Chassis Media Converter คืออะไร
Rack Chassis Media Converter คืออะไร
19" Rack Mount Chassis for Media Converter กล่องใส่ Media Converter แบบยึดหน้าตู้ Rack ขนาดกว้าง 19 นิ้ว (ตาม Rack size มาตรฐาน) ความสูงอยู่ที่ 2U มีระบบพัดลมระบายความร้อนพร้อมภาคจ่ายไฟในตัว และรองรับการทำงานแบบ Redundant มี Dual Power Supply แบบ 2 ตัว ตัวแรกจะทำหน้าที่ในการจ่ายไฟให้อุปกรณ์ภายในตู้ ส่วนอีกตัวจะทำหน้าที่ Back up กรณีที่การจ่ายไฟของตัวแรกใช้งานอยู่แล้วเกิดเสียหายก็จะสลับมาใช้งานตัวที่สองที่ทำหน้าที่ Back up ทันที (เลือกใช้ตัวไหนก่อนก็ได้) รองรับการทำงานส่งข้อมูลได้ทั้งแบบ Fast Ethernet(10/100Mbps) และ Gigabit Ethernet(100/1000Mbps) สามารถใส่ Media Converter แบบ Card Module ได้สูงสุด 16 ตัว ในรุ่น B1-16N และสำหรับ Media Converter แบบ Stand-alone (5VDC) สามารถใส่ได้สูงสุดที่ 14 ตัว ในรุ่น B1-14N ถ้าภายใยตู้แร๊ค(Rack)มีอุปกรณ์ Media Converter อยู่หลายตัวการจัดเก็บสายไฟหรือสายเคเบิ้ลก็จะเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก ไม่สะดวกในการติดตั้ง ทำให้ภายในตู้แร๊คดูไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย แต่ถ้าคุณติดตั้ง 19" Rack Mount Chassis จะทำให้เก็บได้เป็นระเบียบมาขึ้นและประหยัดช่อง outlet ไฟฟ้าได้อีกด้วย
- Rack Mount Chassis for Media Conver 14slot, 2U 19”, Dual power supply (Stand-alone)
- Rack Mount Chassis for Media Conver 16slot, 2U 19”, Dual power supply (Module Card)
1. Media Converter Stand-alone
Media Converter แบบ Stand-alone จะเป็นอุปกรณ์แปลงที่สัญญาณที่จะอยู่ปลายทางของอุปกรณ์ของผู้ใช้งาน ซึ่งตัวต้นทางอาจจะเป็น Media Converter แบบ Stand-alone หรือ แบบ Module Card ก็ได้ ความเร็วที่รองรับอยู่ในปัจจุบันก็มีตั้งแต่ 10/100Mbps (Fast), 10/100/1000Mbps (Gigabit) ไปจนถึงความเร็วสูงสุดที่ 1/10Gb โดยที่การจ่ายไฟให้กับอุปกรณ์นั่นแบบ Stand-alone จะมีแหล่งจ่ายไฟอะแดปเตอร์ไฟแยกออกให้เสียบใช้งานได้เลยทันที
- Media Converter (Gigabit) Single-Fiber SC Port, Single-mode 10Km
- Media Converter (Gigabit) Dual-Fiber SC Port, Single-mode 10Km
- Media Converter (Gigabit) Dual-Fiber SC Port, Multimode 550m
- Media Converter (Gigabit) SFP Slot to RJ45
2. Media Converter Card-Type
Media Converter แบบ Module Card-Type นี้จะมีคุณสมบัติและลักษณะการใช้งานเหมือนกับแบบรุ่น Stand-alone ส่วนตัว Module Card มีทั้งแบบ Single-mode และ Multi-mode แต่แบบการ์ดนี้จะยังไม่สามารถใช้งานได้เลยทันทีเพราะไม่มีแหล่งจ่ายไฟเป็นของตัวเอง จะต้องติดตั้งอุปกรณ์เข้ากับ Rack Mount แบบ Chassis ก่อนถึงจะใช้งานได้
- Mudule Card Media Converter (Fast) Dual-Fiber SC Port, Single-mode 10Km
- Mudule Card Media Converter (Fast) Dual-Fiber SC Port, Multimode 550m
- Mudule Card Media Converter (Gigabit) Dual-Fiber SC Port, Single-mode 10Km
- Mudule Card Media Converter (Gigabit) Dual-Fiber SC Port, Multimode 550m
ดังนั้น การเลือกใช้งาน กล่องเก็บอุปกรณ์ media converter หรือตัวแปลงสัญญาณชนิด 19นิ้ว Rack mount Chassis นั้น จึงเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง สำหรับผู้ออกแบบระบบ เพื่อให้ระบบนั้นๆ มีความเป็นมืออาชีพ และสามารถจัดการได้ง่ายและสะดวกในการดูแลบำรุงรักษา ในระบบนั้นๆให้มีความปลอดภัยและมีอายุการใช้งานได้นาน
ยินดีให้คำปรึกษาในการเลือกใช้งานอุปกรณ์ในระบบเครือข่ายและที่เกี่ยวข้อง พร้อมแนะนำการเขียน TOR. งานราชการ
By: BISMON
e-mail:sale@bismon.com
Line office:@bismon
Tel:0-2563-5000
Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ
๐ Fiber optic cable ชนิด แขวนอากาศ มีกี่ชนิด
๐ Fiber Patch Panel vs UTP Patch panel ต่างกันอย่างไร
๐ การแก้ปัญหาและสาเหตุ Splicer High Loss ของสาย Fiber optic cable
๐ (ภาคต่อ)คุณรู้จักสายสัญญาณในระบบ สายแลน (LAN) UTP Outdoor กันดีหรือยัง
๐ Fiber optic cable กับระบบกล้องวงจรปิด Analog HD ทำงานร่วมกันอย่างไร?