Underground (Duct) Fiber Optic Cables สายไฟเบอร์ออพติกชนิดร้อยท่อฝังดิน
Underground (Duct) Fiber Optic Cables สายไฟเบอร์ออพติก ชนิดร้อยท่อฝังดิน
Underground Fiber Optic Cables สายไฟเบอร์ออฟติกชนิดฝังดินแต่ไม่สามารถนำไปฝั่งได้เลยโดยตรง โดยทั่วไปแล้วสายเคเบิลไฟเบอร์ประเภท Underground จะถูกดึงเข้าไปในท่อซึ่งถูกฝังอยู่ใต้ดิน จะฝั่งอยู่ที่ความลึกประมาณ 1 เมตร หรือมากกว่านั้นแล้วแต่งาน เพื่อป้องกันไม่ให้ถูกขุดขึ้นมาได้ง่ายๆ สายไฟเบอร์เคเบิลแบบ Outdoor จะถูกออกแบบให้เพิ่มสารหล่อลื่น (fiber gel) เข้าไปเพื่อลดแรงเสียดทานเมื่อมีแรงดึงที่สูง แต่ก็ยังสามารถเสียหายได้หากไม่ได้รับการติดตั้งที่ถูกต้อง
โดยปกติแล้วสายไฟเบอร์ออฟติกที่ติดตั้งกับงานประเภทนี้ มักจะติดตั้งภายในท่อที่เพื่อป้องกันสายถูกกดทับให้เกิดความเสียหาย เช่นใน ท่อHDPE,ท่อเหล็ก,ท่อ microduct วิธีที่ติดตั้งก็มีอยู่ 2 วิธีหลักๆ คือ ดึงสาย (Pulling) และ ใช้ลมเป่า (Air Blowing) วิธีการติดตั้ง 2 วิธีนี้เราจะมาพูดกันในบทความหน้า และสายที่เหมาะกับงาน Underground(Duct) มีดังนี้
Indoor/Outdoor Fiber Cable
ลักษณะการติดตั้ง
สายไฟเบอร์ออฟติก ชนิดนี้สามารถใช้งานติดตั้งได้ทั้งแบบภายใน และภายนอกอาคาร เพราะเป็นสายเคเบิลที่ไม่มีโลหะอยู่ภายใน จึงทำให้สามารถบิด โค้ง งอ ได้มากกว่า สายประเภทอื่น จึงเหมาะกับการติดตั้งแบบ ร้อยท่อ ภายในอาคาร
ลักษณะโครงสร้างของสายเคเบิล
เคเบิลชนิดนี้มีเปลือกหนึ่งชั้น ที่ผลิตจากวัสดุ ชนิด PE, HDPE หรือ LSZH วัสดุเปลือกด้านนอกสามารถสั่งผลิตได้ตามความเหมาะสมในการใช้งาน เคเบิลชนิดนี้สามารถบรรจุแท่งแก้วได้สูงสุดที่ 12 แกน(Core)
สายเคเบิลมีความแตกต่างกันอยู่อีกหนึ่งอย่างคือ ตัว Strength member วัสดุที่รองรับแรงดึง โดยจะนิยมใช้กันอยู่ 2 ประเภทคือ
1.Aramid yarn(เส้นใยสีเหลือง) จะมีความเหนียวพิเศษซึ่งสามารถรองรับแรงดึงได้สูง ราคาก็สูงตาม
2.E-Glass Yarn (เส้นใยสีขาว) จะมีความเหนียว สามารถรองรับแรงดึงได้ปานกลาง ราคาก็ปานกลาง
ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานหรือประเภทงานที่จำเป็นต้องใช้งานให้ตรงตามมาตรฐานสากลของแต่ละโครงการหรือสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไปในการเลือกใช้วัสดุในการผลิตโครงสร้างของสายเคเบิลชนิดนั้นๆ
จุดเด่นโครางสร้าง
- โค้งงอได้มากกว่าสายประเภทอื่น
Riser Breakout Cable Indoor / Outdoor
ลักษณะการติดตั้ง
สายประเภทนี้จะติดตั้งในอาคารสูง หรืออาคารทั่วไป ที่ต้องการมาตรฐานและคุณภาพที่ดี เพราะด้วยคุณสมบัติเด่นของสายชนิดนี้ด้านในท่อแกนจะไม่มี"เจล"กันความร้อน ที่เป็นของเหลวด้านใน เพราะถ้ามีของเหลวด้านในเช่น เจลกันความร้อน ทั่วไปจะไหลจากที่สูงลงมาสู่ที่ต่ำ ทำให้อุปกรณ์ด้านล่างในกล่องพักสาย อาจจะสกปรก หรือไปทำให้เกิดปัญหากับอุปกรณ์ตัวอื่นๆได้ ทั้งนี้ในบ้านเราไม่ค่อยได้นิยมใช้งานมากนัก เนื่องจากราคาแพง แต่ด้วยมาตรฐานการติดตั้งที่ถูกต้องสำหรับงานอาคารสูง ที่ถูกออกแบบมาโดยวิศวกรต่างประเทศจะระบุรุ่นหรือข้อกำหนดมาโดยตรง หรือไม่ก็เลือกสายแบบภายในโดนเฉพาะ Indoor type PVC หรือ LSZH เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการออกแบบระบบ
ลักษณะโครงสร้างของสายเคเบิล
คุณสมบัติของโครงสร้างสายชนิดนี้จะเป็นแบบ Tight Buffer แกนต่อแกน คือจะมี Aramid yarn (เส้นใยสีเหลือง) ในทุกๆเส้น เพื่อง่ายต่อการใช้งานและรองรับแรงดึงขณะติดตั้งได้ดี และภายในตัวสายเคเบิลจะมี Central Strength member แกนกลางที่รองรับแรงดึงที่ผลิตจาก FRP ที่ไม่ใช่โลหะ แต่มีความแข็งแรงเทียบเท่า ส่วนเปลือกด้านนอกสุด จะสามารถเลือกวัสดุที่เป็นชนิด PE, HDPE หรือ LSZH ได้
จุดเด่นโครางสร้าง
- เหมาะติดตั้งกับอาคารสูง
- รับแรงดึงสายขณะติดตั้งได้สูง
Outdoor armoured mono tube
ลักษณะการติดตั้ง
สายไฟเบอร์ออฟติก ชนิดนี้สามารถติดตั้งและใช้งานภายนอกอาคารโดยเฉพาะ และมีเกราะป้องกันโลหะ(Armoured) สายประเภทนี้นิยมติดตั้ง ประเภทแขวนเสา หรือวางเปลือยบนหลังคา หรือใต้ฝ้า หรือรางวายเวย์ แลดเดอร์ ตามโรงงานทั่วไป เพราะสามารถป้องกันสัตว์กัดแทะสาย ทั้งหนูและกระรอกได้ แต่ก็สามารถติดตั้งแบบร้อยท่อ HDPE(สีดำ) ฝังดินได้ เพราะสามารถรองรับแรงกดทับได้ดีกว่าปกติ
ลักษณะโครงสร้างของสายเคเบิล
เป็นสายเคเบิลที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ขนาดไม่เกิน 10 มม. เปลือกนอกผลิตจากวัสดุที่เป็น PE, HDPE หรือ LSZH ขึ้นอยู่กับการใช้งาน ส่วนด้านในจะมี E-Glass Yarn เส้นใยสีขาวสำหรับรองรับแรงดึง และจะมีเกราะป้องกันโลหะ(Armoured) ที่สามารถป้องกันสัตว์กัดแทะสายได้ สายเคเบิลชนิดนี้สามารถบรรจุแท่งแก้วได้สูงสุดที่ 12 แกน(Core) เพราะมีท่อ(Tube) เพียงหนึ่งท่ออยู่ตรงกลางสาย
จุดเด่นโครางสร้าง
- เกราะโลหะป้องกันสัตว์กัดแทะ
- สามารถติดตั้งแบบแขวนเสาได้
- เดินสายเปลือยได้เลยไม่จำเป็นต้องร้อยท่อ
- สายมีขนาดเล็กไม่หนัก
- รองรับแรงกดได้มากกว่าสายปกติ
OUTDOOR Armoured 2 Steel Wire Fiber optic cable
ลักษณะการติดตั้ง
สายไฟเบอร์ออฟติก ชนิดนี้สามารถติดตั้งภายนอกอาคารโดยเฉพาะและมีเกราะป้องกันโลหะ(Armoured) จึงเหมาะกับการติดตั้งแบบ แขวนอากาศ เพราะจะมีเส้นลวด 2 เส้น ขนานไปกับตัวสาย เพื่อรองรับแรงดึงได้สูงสุดขณะติดตั้ง หรือติดตั้งแบบเปลือย บนฝ้าเพดาน หรือรางวายเวย์, แลดเดอร์อาคารโรงงาน เพื่อป้องกันสัตว์กัดแทะสายได้ดี หรือร้อยท่อฝังดินก็ย่อมได้
ลักษณะโครงสร้างของสายเคเบิล
สำหรับโครงสร้างของสายชนิดนี้จะเด่นเรื่องของ จำนวน เส้นลวด 2 เส้นที่ขนานไปกับตัวสาย ส่วนเปลือกนอก สามารถผลิตได้ทั้ง PE, HDPE และ LSZH ตามลักษณะงานที่ต้องการติดตั้งหรือใช้งาน ส่วนด้านในจะมีเกราะป้องกันโลหะผลิตจากเหล็ก สายเคเบิลชนิดนี้สามารถบรรจุแท่งแก้วได้สูงสุดที่ 12 แกน(Core) เพราะมีท่อ(Tube) เพียงหนึ่งท่ออยู่ตรงกลางสาย
จุดเด่นโครางสร้าง
- เกราะโลหะป้องกันสัตว์กัดแทะ
- รองรับแรงกดได้ดี
- ติดตั้งแบบแขวนเสาได้ดี
- มีเส้นลวด 2 เส้นขนานกับสายรองรับน้ำหนักสายขณะแขวนอากาศได้ดี
- เดินสายเปลือยได้เลยไม่จำเป็นต้องร้อยท่อ
- สายมีขนาดเล็กไม่หนัก
Duct Armoured Fiber Cable
ลักษณะการติดตั้ง
การติดตั้งสายไฟเบอร์ออฟติก ชนิดนี้สามารถติดตั้งแบบ ร้อยท่อ หรือ ฝังดินได้ แบบใช้ท่อ HDPE สีดำ หรือ แขวนอากาศ ตามเสาฟ้า หรือผนังอาคารทั่วไปได้ หรือติดตั้งแบบเปลือย ไม่ต้องร้อยท่อ ตามรางเก็บสายแลดเดอร์ โรงงานทั่วไปได้ ซึ่งแล้วแต่ลักษณะการติดตั้งจริง แต่คุณสมบัติเด่นของ โครงสร้างสายประเภทนี้คือ จะสามารถสั่งผลิตสายได้จำนวนมากตั้งแต่ 24 จน ถึง 120 แกน (Core)
ลักษณะโครงสร้างของสายเคเบิล
ตามลักษณะโครงสร้างของเคเบิลชนิดนี้ จุดเด่นก็คือ สามารถบรรจุสายแท่งแก้วได้มากกว่า 12 แกน(Core) จนถึง 120 แกน(Core) หรือมากกว่านั้น ซึ่งโดยรวมจะถูกออกแบบมาให้มี เกราะป้องกันโลหะ ที่ทนต่อแรงกดทับได้ดี ในขณะติดตั้งแบบ ร้อยท่อ หรือฝังดิน ส่วนในเรื่องของ เปลือกของสายจะผลิตจากวัสดุที่เป็น PE, HDPE หรือ LSZH(Low smoke Zero Halogen) ซึ่งก็แล้วแต่ลักษณะการติดตั้งจริง หรือการกำหนดคุณสมบัติเบื้องต้นในแต่ละโครงการนั้นๆไป
จุดเด่นโครางสร้าง
- เกราะโลหะป้องกันสัตว์กัดแทะ
- รองรับแรงกดได้ดี
- สามารถติดตั้งอากาศตามเสาได้เลย
- เดินสายเปลือยได้เลยไม่จำเป็นต้องร้อยท่อ
- บรรจุแกนไฟเบอร์ได้มากถึง 120 Core
บทความที่เกี่ยวข้อง
สายไฟเบอร์ออพติกชนิดฝังดินโดยตรง (Direct Buried)
Recomended Article : บทความอื่นที่คุณอาจสนใจ
๐ ประโยชน์การใช้งาน ODF-Rack mount Drawer 1U สำหรับงาน Fiber optic cable
๐ Span length ของสายเคเบิ้ล คืออะไร แล้วมีความสำคัญอย่างไรกับการติดตั้ง
๐ สาย Fiber optic patch cord และ Pigtail คืออะไร และมีประโยชน์อย่างไร
๐ POF(Plastic Optical Fiber)คือสายประเภทไหนมีกี่ประเภทและนำไปใช้งานแบบไหน
๐ ติดตั้งสายเคเบิลใยแก้วนำแสง แบบ All-Dielectric Self Support (ADSS) อย่างไรให้ถูกต้อง?